หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางสัตว์

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางสัตว์

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางสัตว์
(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562)

Previous
Next

 

รายละเอียดหลักสูตร

ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย : หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางสัตว์
ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Science Program in Animal Technology and Innovation

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ชื่อเต็ม (ไทย) : วิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางสัตว์)
ชื่อย่อ (ไทย) : วท.บ. (เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางสัตว์)
ชื่อเต็ม (อังกฤษ) : Bachelor of Science (Animal Technology and Innovation)
ชื่อย่อ (อังกฤษ) : B.Sc. (Animal Technology and Innovation)

ลักษณะวิชาชีพ

          มุ่งผลิตบัณฑิตทางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางสัตว์ โดยมุ่งเน้น การผลิตสัตว์เศรษฐกิจ การคัดเลือกปรับปรุงพันธุ์สัตว์  การจัดการ  ด้านอาหารสัตว์และการตลาด  สุขศาสตร์ การป้องกันโรคสัตว์ และเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว ซึ่งกระทำในฐานะนักวิชาการ  ควบคู่กับการปฏิบัติ ผู้จบสาขาวิชานี้เหมาะที่จะเป็นสัตวบาล  ที่ปรึกษาทางการค้าที่เกี่ยวข้องกับสัตว์และผลิตภัณฑ์สัตว์  เป็นนักการตลาดอาหารสัตว์  ฯลฯ

ลักษณะวิชาที่ศึกษา

1. กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน ประกอบด้วยรายวิชาวิทยาศาสตร์ ได้แก่ ชีววิทยา เคมี ฟิสิกส์ คณิตศาสตร์
2. กลุ่มวิชาศึกษาทั่วไป เพื่อเสริมให้เป็นคนที่สมบูรณ์มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี เข้าใจและอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
3. กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ ได้แก่วิชา ชีวเคมี เศรษฐศาสตร์ เคมีอินทรีย์ พันธุศาสตร์  สถิติเพื่อการวิจัย เพื่อให้มีพื้นฐานความรู้ในฐานะนักวิทยาศาสตร์  และมีความสามารถที่จะเรียนรู้ต่อยอดในวิชาชีพต่อไป

    กลุ่มวิชาชีพ ได้แก่ กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยา วิชาการผลิตสัตว์ที่เป็นสัตว์เศรษฐกิจ เช่น ไก่ สุกร โค และสัตว์น้ำ เป็นต้น ทั้งนี้รวมถึงวิชาที่เกี่ยวกับการคัดเลือก การปรับปรุงพันธุ์สัตว์ อาหารสัตว์ โรคสัตว์และการป้องกันโรคสัตว์ การจัดการฟาร์มสัตว์ ทั้งนี้โดยเน้นหนักการใช้เทคโนโลยีชั้นสูงในการผลิต การจัดการที่เป็นระบบอุตสาหกรรมและการส่งออก โดยนักศึกษาสามารถเลือกเรียนได้  2  กลุ่ม ตามความสนใจ คือ

  1. แบบวิชาเอกเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางสัตว์ เน้นด้านสัตวศาสตร์เพื่อให้นักศึกษารู้จริง ปฏิบัติได้ ประยุกต์ได้ โดยให้นักศึกษาสามารถวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา สามารถแก้ปัญหาและเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหา ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตสัตว์ มีทักษะการค้นคว้า สามารถทำงานเป็นทีม และมีความสามารถในการสื่อสาร การเรียนรู้เชิงบูรณาการโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (problem-based learning, PBL)
  2. แบบวิชาเอกเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางสัตว์-โทความเป็นผู้ประกอบการ เน้นให้นักศึกษามีความรู้ความสามารถ มีทักษะที่เพียงพอในการประกอบอาชีพ และมีแนวคิดในการเป็นผู้ประกอบการธุรกิจนวัตกรรม (Innovative Entrepreneurs) หรือเป็นบุคลากรประกอบการในองค์กร (Entrepreneurs)

คุณสมบัติของผู้ศึกษา

        คุณสมบัติทั่วไป : เป็นผู้สำเร็จมัธยมศึกษาตอนปลายสายวิทย์-คณิต หรือเทียบเท่า

แนวทางการประกอบอาชีพ

นักวิชาการด้านเทคโนโลยีการผลิตสัตว์ สัตวศาสตร์ สัตวบาล หรือนวัตกรรมทางสัตว์
ผู้ประกอบการด้านการผลิตสัตว์ และอาชีพอิสระที่เกี่ยวข้อง

อาจารย์และนักวิจัย


 

หลักสูตร

จำนวนหน่วยกิตรวม  ไม่น้อยกว่า 177 หน่วยกิต

 

โครงสร้างหลักสูตร

1) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป                              ไม่น้อยกว่า 38 หน่วยกิต

     – กลุ่มวิชาแกนศึกษาทั่วไป                                                    15 หน่วยกิต

     – กลุ่มวิชาภาษาต่างประเทศ                                                  15 หน่วยกิต

     – กลุ่มวิชาแกนศึกษาทั่วไปแบบเลือก                                      8 หน่วยกิต

2) หมวดวิชาเฉพาะ                                       ไม่น้อยกว่า 38 หน่วยกิต

     2.1) แบบเอก (เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางสัตว์)

             – กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ                                               55 หน่วยกิต

             – กลุ่มวิชาบังคับวิชาชีพ                                                 55 หน่วยกิต

             – กลุ่มการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน                          12 หน่วยกิต

             – กลุ่มวิชาประสบการณ์ภาคปฏิบัติ                                   9 หน่วยกิต

     2.2) แบบวิชาเอก-วิชาโท (เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางสัตว์-โทความเป็นผู้ประกอบการ)

             – กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ                                               55 หน่วยกิต

             – กลุ่มวิชาบังคับวิชาชีพ                                                 55 หน่วยกิต

             – กลุ่มการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน                          12 หน่วยกิต

             – กลุ่มวิชาประสบการณ์ภาคปฏิบัติ                                   9 หน่วยกิต

3) หมวดวิชาเลือกเสรี                                   ไม่น้อยกว่า 38 หน่วยกิต

X