บทบาทของวิศวกรโยธา

บทบาทของวิศวกรโยธา

Previous
Next

ชื่ออาชีพ : วิศวกรโยธา Civil Engineer 

นิยามอาชีพ 

ผู้ปฎิบัติงานอาชีพนี้ ได้แก่ผู้วางแผน จัดระบบงานและควบคุมงานสร้างถนน สะพาน อุโมงค์ และสิ่งอำนวยความสะดวกในการขนส่งต่างๆ ทำงานเกี่ยวกับการก่อสร้างอาคาร ตลอดจน การติดตั้งการใช้ และการบำรุงรักษาระบบไฮดรอลิก และระบบสุขาภิบาล ทำการตรวจตรา และทดสอบทำงานวิจัยและให้คำแนะนำทางเทคนิคต่างๆ

ลักษณะของงานที่ทำ

  • วางแผน จัดระบบงาน และควบคุมงานสร้างถนน สะพาน อุโมงค์ และสิ่งอำนวยความสะดวกในการขนส่งต่างๆ 
  • ทำงานเกี่ยวกับการก่อสร้างอาคาร ตลอดจนการติดตั้ง การใช้ และการบำรุงรักษาระบบไฮดรอลิกและระบบสาธารณสุขอื่นๆ 
  • พิจารณาโครงการ และทำงานสำรวจเพื่อหาสถานที่ที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการก่อสร้าง 
  • สำรวจและประเมินลักษณะ และความหนาแน่นของการจราจรทางอากาศ ทางบก และทางน้ำเพื่อพิจารณาว่าจะมีผลต่อโครงการอย่างไรบ้าง 
  • สำรวจดูพื้นผิวดินและใต้ผิวดินว่าจะมีผลต่อการก่อสร้างอย่างใด และเหมาะสมที่จะรองรับ สิ่งก่อสร้างเพียงใด 
  • ปรึกษา หารือในเรื่องโครงการกับผู้ชำนาญงานสาขาอื่นๆ เช่น วิศวกรไฟฟ้า หรือวิศวกรช่างกล วางแผนผังรากฐาน ท่อสายไฟ ท่อต่างๆ และงานพื้นดินอื่นๆ คำนวณความเค้น ความเครียด จำนวนน้ำ ผลอันเนื่องมาจากความ
  • แรงของลมและอุณหภูมิ ความลาด และเหตุอื่นๆ 
  • เตรียมแบบแปลนรายงานก่อสร้าง และจัดทำประมาณการวัสดุและประมาณการราคา
  • เลือกชนิดของเครื่องมือขนย้ายดิน เครื่องชักรอก เครื่องจักรกล และเครื่องมืออื่นๆ ที่จะใช้ในงานก่อสร้าง 
  • จัดทำตารางปฎิบัติงานและควบคุมให้การปฎิบัติงานไปตามแผนที่วางไว้ ทดสอบ และตรวจดูโครงสร้างทั้งเก่า และใหม่ ตลอดจนวางแผนและจัดระบบงานซ่อม

 สภาพการทำงาน 

สถานที่ทำงานของวิศวกรโยธาจะมีสภาพเหมือนที่ทำงานทั่วไป คือ เป็นสำนักงานที่มีอุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวกเช่นสำนักงานทั่วไป แต่โดยลักษณะงานที่จะต้องควบคุมงานสำรวจ ก่อสร้าง หรือซ่อมแซม จึงจำเป็นที่จะต้องตรวจดูงานนอกสถานที่ในบางครั้ง เนื่องจากต้องควบคุมดูแลงานให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด สำหรับงานหรือสถานที่ทำงานที่เสี่ยงต่อความไม่ปลอดภัย ในการทำงาน วิศวกรโยธาจึงต้องใช้อุปกรณ์คุ้มครองส่วนบุคคลในขณะปฏิบัติงาน

 คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ ผู้ประกอบอาชีพนี้ ต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้ 

  • สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมโยธา 
  • เป็นผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์ มุ่งมั่น ค้นคว้าอย่างต่อเนื่องเพื่อหาวิธีที่ประหยัด และ มีประสิทธิภาพมากขึ้น 
  • วิสัยทัศน์ และสนใจกับเหตุการณ์ ข่าวสารที่เกิดขึ้นตลอดเวลา รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และมีจรรยาบรรณของวิศวกร 
  • มีความอดทนและเข้มแข็งทั้งร่างกาย และจิตใจ มีอารมณ์เยือกเย็น มีความคิดสุขุม 
  • มีลักษณะเป็นผู้นำ ทั้งนี้งานส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับการควบคุมคนเป็นจำนวนมาก 
  • พื้นฐานความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ฟิสิกส์ ภาษาอังกฤษและคณิตศาสตร์เป็นอย่างดี 
  • ผู้ประกอบอาชีพวิศวกรในทุกสาขาควรจะมีใบประกอบวิชาชีพวิศวกรรมเพื่อใช้ใน การรับรองสำหรับการประกอบอาชีพ ซึ่งต้องมีคุณสมบัติ และวุฒิการศึกษาตามข้อกำหนด โดยจะขอรับใบอนุญาตได้ที่ กองวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สังกัดในกระทรวงมหาดไทย 

ผู้ที่จะประกอบอาชีพนี้ ควรเตรียมความพร้อมดังต่อไปนี้ 

ต้องเป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สาขาวิทยาศาสตร์ หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพจากสถานศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการรับรองวิทยฐานะ เพื่อเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาระยะเวลาการศึกษา 4 ปี เมื่อสำเร็จ การศึกษาแล้วจะได้ปริญญาวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต (วศ.บ.) ในสาขาวิศวกรโยธา หรือ เป็นผู้สำเร็จ การศึกษาในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ที่ศึกษาเกี่ยวกับทางด้านช่างจากสถานศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการรับรอง วิทยฐานะ เพื่อเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา ระยะเวลาการศึกษา 2 ปี (หลักสูตรต่อเนื่อง) เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วจะได้ปริญญาวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต (วศ.บ.) ในสาขาวิศวกรโยธา

โอกาสความก้าวหน้าในอาชีพ 

ผู้ที่สำเร็จการศึกษาด้านวิศวกรโยธาหากทำงานเพิ่มประสบการณ์ และได้รับการอบรมในวิชาที่ เกี่ยวข้อง และมีความสามารถในการบริหาร ก็สามารถเลื่อนขั้นเป็นผู้บริหารโครงการได้สำหรับผู้ที่ศึกษาเพิ่มเติมถึง ขั้นปริญญาโท หรือปริญญาเอก สามารถที่จะเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยทั่วไปได้

รูปประวัติศาสตร์ ของชาววิศวะโยธา มทส คณะกรรมการ รับรองหลักสูตรของสภาวิศวกร(กว)

ได้เข้าตรวจสอบหลักสูตร รวมถึงห้องปฎิบัติการ ปี 2540

 

X