ระดับปริญญาตรี

ระดับปริญญาตรี

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
สาขาวิชาภูมิสารสนเทศ
(หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2563)
หลักสูตรสหวิทยาการ

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
สานักวิชาวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาภูมิสารสนเทศ

ข้อมูลทั่วไป

 

1. รหัสและชื่อหลักสูตร
ชื่อภาษาไทย วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภูมิสารสนเทศ
ชื่อภาษาอังกฤษ Bachelor of Science Program in Geoinformatics

 

2. ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) วิทยาศาสตรบัณฑิต (ภูมิสารสนเทศ)
(ภาษาอังกฤษ) Bachelor of Science (Geoinformatics)
ชื่อย่อ (ภาษาไทย) วท.บ. (ภูมิสารสนเทศ)
(ภาษาอังกฤษ) B.Sc. (Geoinformatics)

 

3. วิชาเอก
ไม่มี

 

4. จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
ไม่น้อยกว่า 172 หน่วยกิตในระบบไตรภาค

 

5. รูปแบบของหลักสูตร
5.1 รูปแบบและประเภทของหลักสูตร
เป็นหลักสูตรระดับปริญญาตรีทางวิชาการ (4 ปี) ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2558
5.2 ภาษาที่ใช้
ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
5.3 การรับเข้าศึกษา
รับเฉพาะนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติที่สามารถสื่อสารภาษาไทยได้ดี
5.4 ความร่วมมือกับสถาบันอื่น
เป็นหลักสูตรเฉพาะของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
5.5 การให้ปริญญาแก่ผู้สาเร็จการศึกษา
ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว

 

6. สถานภาพของหลักสูตรและการพิจารณาอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตร
เป็นหลักสูตรใหม่ เปิดสอนในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2563

– สภาวิชาการ ให้ความเห็นชอบในการประชุมครั้งที่ 1/2563 เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2563
-สภามหาวิทยาลัยฯ อนุมัติในการประชุมครั้งที่ 2/2563 เมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2563

 

7. ความพร้อมในการเผยแพร่หลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐาน
หลักสูตรมีความพร้อมในการเผยแพร่คุณภาพและมาตรฐานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับ อุดมศึกษาแห่งชาติ ภายในปีการศึกษา 2565

 

8. อาชีพที่สามารถประกอบอาชีพได้หลังสาเร็จการศึกษา
8.1 นักวิชาการและนักวิชาชีพทุกสาขาที่ต้องใช้วิทยาการภูมิสารสนเทศ (Geoinformatics Science) โดยเฉพาะทางการสารวจจากระยะไกล (Remote Sensing) ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) และระบบ GPS/GNSS ในการปฏิบัติงานของตนหรือหน่วยงานที่สังกัด เช่น การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การวิเคราะห์และวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดิน การบริหารจัดการภาคเกษตร การวางแผนระบบการคมนาคมขนส่ง การวางแผนภูมิภาค การบริหารจัดการพื้นที่เมืองและสภาพแวดล้อมเขตเมือง การพัฒนาท้องถิ่นและชนบท การสาธารณสุข หรือ การบรรเทา/ป้องกันภัยพิบัติรุนแรง เป็นต้น
8.2 อาจารย์ผู้สอนหรือผู้เชี่ยวชาญทางภูมิสารสนเทศในสถาบันการศึกษาระดับมัธยมศึกษา อาชีวศึกษา และอุดมศึกษา ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ
8.3 นักวิจัย พนักงาน เจ้าหน้าที่ หรือผู้เชี่ยวชาญทางภูมิสารสนเทศในหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชน ตลอดจนการประกอบอาชีพอิสระทางภูมิสารสนเทศทั้งในประเทศและต่างประเทศ

 

ดาวน์โหลด หลักสูตรระดับปริญญาตรี-ภูมิสารสนเทศ (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2563)

X