ประกันคุณภาพ

ประกันคุณภาพ

นโยบายประกันคุณภาพของส่วนประชาสัมพันธ์

ส่วนประชาสัมพันธ์ ได้พัฒนาระบบและกลไกการประกันคุณภาพภายในอย่างต่อเนื่อง โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้

  • เพื่อตรวจสอบและประเมินการดำเนินการของส่วนตามระบบการประกันคุณภาพที่กำหนดขึ้น
  • เพื่อให้ทราบสถานภาพของตนเอง อันจะนำไปสู่การกำหนดแนวทางในการพัฒนาคุณภาพไปสู่เป้าหมาย (Targets) และเป้าประสงค์ (Goals) ที่ตั้งไว้
  • เพื่อให้ทราบจุดแข็ง จุดอ่อน จุดที่ควรปรับปรุง ตลอดจนได้รับข้อเสนอแนะในการพัฒนาการ
  • ดำเนินงาน เพื่อเสริมจุดแข็งและพัฒนาจุดอ่อน รวมถึงจุดที่ควรปรับปรุงของส่วนประชาสัมพันธ์
  • เพื่อให้ข้อมูลสาธารณะที่เป็นประโยชน์ต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และสามารถสร้างผลผลิตที่มีคุณภาพ
  • เพื่อให้มีข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็นและเหมาะสม สำหรับการบริหารงานและการดำเนินงาน

ทั้งนี้ ส่วนประชาสัมพันธ์ ได้ดำเนินการประกันคุณภาพ โดยนำแนวคิดการเนินงานประกันคุณภายใน โดยยึดตามแนวทางของวงจรคุณภาพ PDCA มาโดยตลอด คือ มีขั้นตอนการทำแผน ( PLAN ) มีการนำแผนไปปฏิบัติ ( DO : D)  มีการประเมินการดำเนินการตามแผน ( CHECK : C ) และมีการนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ปรับปรุงแผนครั้งต่อไป (ACT : A) ดังรูป

 

 

P มีแผน

  1. 1. วัตถุประสงค์เหมาะสม และสอดคล้องกับแผนของคณะ/พันธกิจหรือไม่
  2. 2. มีการกำหนดผู้รับผิดชอบหรือไม่ (รายบุคคล/คณะบุคคล)
  3. 3. ระยะเวลาดำเนินการที่กำหนดไว้เหมาะสมหรือไม่
  4. 4. งบประมาณที่กำหนดเหมาะสมหรือไม่
  5. 5. มีการเสนอเพื่อขออนุมัติก่อนดำเนินการหรือไม่

D มีผลการดำเนินการตามแผน

  1. 1. มีการกำหนดขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินการหรือไม่
  2. 2. มีผู้รับผิดชอบดำเนินการได้ตามที่กำหนดไว้หรือไม่
  3. 3. มีการประสานงานกับผู้ที่เกี่ยวข้องมากน้อยเพียรไร
  4. 4. สามารถดำเนินการตามระยะเวลาที่กำหนดหรือไม่
  5. 5. สามารถดำเนินการได้ตามงบประมาณที่กำหนดไว้หรือไม่

 

C มีการประเมินการดำเนินการ

  1. 1. ได้มีการกำหนดวิธี/รูปแบบการประเมินหรือไม่
  2. 2. มีรูปแบบของการประเมินเหมาะสมหรือไม่
  3. 3. ผลของการประเมินตรงกับวัตถุประสงค์ที่วางไว้หรือไม่
  4. 4. ปัญหา/จุดอ่อนที่พบในการดำเนินการมีหรือไม่
  5. 5. ข้อดี/จุดแข็ง ของการดำเนินการมีหรือไม่

A มีการปรับปรุงตามผลการประเมิน

  1. 1. มีการระดมสมองเพื่อหาทางแก้ปัญหา/จุดอ่อนที่ค้นพบ
  2. 2. มีการระดมสมองเพื่อหาทางเสริมข้อดี/จุดแข็งเพิ่มขึ้น
  3. 3. มีการนำผลที่ได้จากการระดมสมอง (ข้อ 1, 2) เสนอคณะกรรมการประกันคุณภาพ

ของคณะเพื่อพิจารณาสำหรับใช้วางแผนครั้งต่อไป

  1. 4. กำหนดกลยุทธ์ในการจัดทำแผนครั้งต่อไป
  2. 5. กำหนดผู้รับผิดชอบไปดำเนินจัดทำแผนครั้งต่อไป

 

นอกจากนี้ ยังได้ดำเนินการตามกรอบแนวคิดในการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ
ที่คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ได้ระบุไว้ ใน 7 ประเด็น ดังนี้

  1. 1. การนำองค์กร
  2. 2. การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์
  3. 3. การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
  4. 4. การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้
  5. 5. การมุ่งเน้นพัฒนาบุคลากร
  6. 6. การจัดกระบวนการ
  7. 7. ผลลัพธ์
X