หลักสูตรวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาชีวเวชศาสตร์
(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560)
ชื่อหลักสูตร
หลักสูตรวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาชีวเวชศาสตร์
(Doctor of Philosophy Program in Biomedical Sciences)
ชื่อปริญญา
ชื่อเต็ม (ไทย) วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ชีวเวชศาสตร์)
ชื่อย่อ (ไทย) วท.ด. (ชีวเวชศาสตร์)
ชื่อเต็ม (อังกฤษ) Doctor of Philosophy (Biomedical Sciences)
ชื่อย่อ (อังกฤษ) Ph.D. (Biomedical Sciences)
จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
แบบ 1.1 การทำวิจัยเพื่อวิทยานิพนธ์โดยไม่ต้องศึกษารายวิชาแต่สาขาวิชาอาจกำหนดให้เรียนรายวิชาหรือทำกิจกรรมทางวิชาการอื่นโดยไม่นับหน่วยกิตด้วยก็ได้ โดยต้องได้ผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 60 หน่วยกิต
แบบ 2.1 เน้นการทำวิจัยโดยมีการทำวิทยานิพนธ์และศึกษารายวิชาเพิ่มเติม ผู้เข้าศึกษาเป็นผู้ที่จบการศึกษาขั้นปริญญาโท จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 60 หน่วยกิต
แบบ 2.2 เน้นการทำวิจัยโดยมีการทำวิทยานิพนธ์และศึกษารายวิชาเพิ่มเติม ผู้เข้าศึกษาเป็นผู้ที่จบการศึกษาขั้นปริญญาตรี จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 90 หน่วยกิต
รูปแบบของหลักสูตร
แบบ 1.1 หลักสูตร 3 ปี
แบบ 2.1 หลักสูตร 3 ปี
แบบ 2.2 หลักสูตร 5 ปี
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
1. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาขั้นปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือมีหลักฐานรับรองว่าจะสำเร็จการศึกษาขั้นปริญญาโทหรือเทียบเท่าจากมหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษาอื่นที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีรับรอง
2. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาขั้นปริญญาตรีเกียรตินิยมหรือเทียบเท่าจากมหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษาที่มหาวิทยาลัยรับรองหรือมีหลักฐานรับรองว่าจะสำเร็จการศึกษาขั้นปริญญาตรีหรือเทียบเท่าจากสถาบันอุดมศึกษาที่มหาวิทยาลัยรับรองในสาขาวิชาเดียวกันกับสาขาวิชาของหลักสูตรปริญญาเอกที่จะเข้าศึกษาโดยมีแต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสม นับถึงภาคการศึกษาก่อนสุดท้ายไม่ต่ำกว่าเกณฑ์เกียรตินิยมของสถาบันที่กำลังศึกษา
3. สาขาวิชาที่สำเร็จการศึกษาหรือกำลังศึกษาอยู่ตามข้อ 1. หรือ 2. ต้องเป็นสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพทุกสาขา วิทยาศาสตร์ชีวภาพทุกสาขา หรือสาขาที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ชีวภาพทุกสาขาวิชา
(สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ ได้แก่ แพทยศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ เภสัชศาสตร์ เทคนิคการแพทย์ กายภาพบำบัด รังสีเทคนิค สาธารณสุขศาสตร์ พยาบาลศาสตร์ หรือสาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ได้แก่ จุลชีววิทยา ชีววิทยา ชีวเคมี เคมี เป็นต้น)
4. กรณีที่ยังไม่สำเร็จการศึกษา จะต้องมีหลักฐานรับรองว่าจะสำเร็จการศึกษาก่อนวันรายงานตัวขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษา
โดยสาขาวิชาฯ มีข้อกำหนดเพิ่มเติมดังนี้
– นักศึกษาที่สามารถเข้าศึกษาในหลักสูตรระดับปริญญาเอก แบบ 1.1 ต้องผ่านความเห็นชอบจากมหาวิทยาลัย
– นักศึกษาที่สามารถเข้าศึกษาในหลักสูตรระดับปริญญาเอก แบบ 2.2 ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดที่ถูกระบุไว้ว่าด้วยการรับทุน
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
- งานวิชาการ ได้แก่ การเป็นอาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย ในสถาบันการศึกษา หรือหน่วยงานลักษณะอื่น เช่น สถาบันวิจัย กรม กอง หรือองค์กรที่เกี่ยวข้องกับชีวเวชศาสตร์
- นักวิทยาศาสตร์ในภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับชีวเวชศาสตร์ เช่น อุตสาหกรรมอาหารและยา และอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง
- งานฝ่ายสนับสนุนทางเทคนิค และฝ่ายขายผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับชีวเวชศาสตร์ เช่น เครื่องมือวิทยาศาสตร์ อุปกรณ์ และสารเคมีทางวิทยาศาสตร์
- งานทางวรรณกรรม ซึ่งเกี่ยวข้องกับงานเขียน แปล ตรวจแก้ไข หรือเรียบเรียงเนื้อหาทางชีวเวชศาสตร์
- ผู้บริหารองค์กร หรือหน่วยงานทางวิทยาศาสตร์
- อาชีพอิสระอื่น ๆ ที่ต้องใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์
โครงสร้างหลักสูตร
แบบ 1.1
สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต วิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 60 หน่วยกิต และนักศึกษาต้องลงเรียนรายวิชา 115991 สัมมนาชีวเวชศาสตร์ 4 (Seminar in Biomedical Sciences IV) และ 115992 สัมมนาชีวเวชศาสตร์ 5 (Seminar in Biomedical Sciences V) โดยไม่นับหน่วยกิตและต้องได้ผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด ทั้งนี้สาขาวิชาฯ อาจกำหนดให้เรียนรายวิชาหรือทำกิจกรรมทางวิชาการอื่นเพิ่มเติม โดยไม่นับหน่วยกิตและต้องได้ผลสัมฤทธิ์ตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด
แบบ 2.1
สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต จำนวนหน่วยกิตรวม ตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 60 หน่วยกิต ประกอบด้วย
– รายวิชาเอก และ/หรือ วิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 13 หน่วยกิต
– รายวิชาสัมมนา ไม่น้อยกว่า 2 หน่วยกิต
– วิทยานิพนธ์ ไม่น้อยกว่า 45 หน่วยกิต
แบบ 2.2
สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 90 หน่วยกิต ประกอบด้วย
– รายวิชาแกน ไม่น้อยกว่า 14 หน่วยกิต
– รายวิชาเอก ไม่น้อยกว่า 8 หน่วยกิต
– รายวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 3 หน่วยกิต
– รายวิชาสัมมนา ไม่น้อยกว่า 5 หน่วยกิต
– วิทยานิพนธ์ ไม่น้อยกว่า 60 หน่วยกิต