การเขียนข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์

 

ประเภทของข่าวในงานประชาสัมพันธ์  

  1. นโยบายของผู้บริหาร ประกาศ แจ้งเพื่อทราบ
  2. กิจกรรมขององค์กร/หน่วยงานต่างๆ
  3. ผลการปฏิบัติงาน+รางวัล
  4. กิจกรรมพิเศษ หรือการจัดงานในโอกาสและวันสำคัญต่างๆ

องค์ประกอบของข่าว

การเขียนข่าวสารที่จะประชาสัมพันธ์ หรือสารที่จะสื่อออกไปยังสื่อมวลชน ควรมีสาระสำคัญหรือองค์ประกอบ ที่เรียกว่า “5 W 1 H” ดังต่อไปนี้

  1. ใคร (Who) ใครคือบุคคลสำคัญที่เกี่ยวข้องกับข่าว
  2. ทำอะไร (What) เกิดอะไรขึ้น การกระทำหรือเหตุการณ์ใดที่สำคัญ
  3. ที่ไหน (Where) การกระทำหรือเหตุการณ์นั้นๆ เกิดขึ้นที่ไหน
  4. เมื่อไร (When) การกระทำหรือเหตุการณ์นั้นๆ เกิดขึ้นวัน เวลาใด
  5. ทำไมและอย่างไร ( Why and How) ทำไมเหตุการณ์นั้นจึงเกิด และเกิดขึ้นได้อย่างไร
  6. ข้อมูลประกอบอื่นๆ เช่น ความเป็นมา

 

 

 

เทคนิคและวิธีการเขียนเนื้อหาข่าว 

 

การเขียนเนื้อข่าวตามโครงสร้างแบบปีรามิดหัวกลับ (Inverted pyramid) เป็น การนำเสนอข่าวโดยลำดับประเด็นสำคัญจากมากไปหาน้อยซึ่งสอดคล้องกับธรรมชาติของมนุษย์ในการอยากรู้อยากเห็นสิ่งสำคัญก่อน ส่วนรายละเอียดไว้ทีหลังประกอบ ด้วย ข่าวพาดหัว วรรคนำ ส่วนเชื่อม และส่วนของเนื้อเรื่อง เรียงตามลำดับความสำคัญ เป็นการเขียนข่าว โดยเริ่มด้วยความนำที่เป็นประเด็นสำคัญของเรื่อง และส่วนเชื่อมที่โยง ความสัมพันธ์ระหว่างความนำกับเนื้อหา ที่มีความสำคัญรองลงมา ส่วนเนื้อหาจะเป็น ส่วนประกอบที่ให้รายละเอียดของเหตุการณ์หรือเรื่องราวที่เกิดขึ้นทั้งหมด

 

 

รูปแบบโครงสร้างของข่าวในหน้ากระดาษ

……………………………………………………พาดหัว…………………………………………………………..

วรรคนำ …………………………………………………………………………………………………………………

คำเชื่อม …………………………………………………………………………………………………………………

เนื้อข่าวสำคัญ …………………………………………………………………………………………………………

เนื้อข่าว ………………………………………………………………………………………………………………….

เนื้อข่าวสำคัญน้อย …………………………………………………………………………………………………..

 

 

ข้อควรระวังในการเขียนข่าวประชาสัมพันธ์

  1. ชื่อและนามสกุลต้องสะกดให้ถูกต้อง เพราะว่าถ้าผิดพลาดอาจกลาย เป็นคนละบุคคล หรือเกิดความเสียหายได้
  2. ตำแหน่งบริหาร ตำแหน่งวิชาการ ต้องระบุให้ตรงกับความเป็นจริงขณะนั้น
  3. คำนำหน้าชื่อ ต้องระบุเรียงลำดับให้ถูกต้อง
  4. การใช้อักษรย่อ หรือตัวย่อต่างๆ ควรตรวจสอบให้ดี
  5. ไม่สอดแทรกความคิดเห็นส่วนตัวเข้าไป
  6. การเขียนตัวเลขถ้ามีจำนวนมากอาจใช้ตัวอักษรแทน ถ้าไม่ใช่ตัวเลขที่แน่นอน ควรใช้คำว่าประมาณ
  7. หลีกเลี่ยงการใช้ศัพท์เทคนิคที่เข้าใจยาก
X