หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางสัตว์
(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565)
ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย : หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางสัตว์
ภาษาอังกฤษ : Master of Science Program in Animal Technology and Innovation
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อเต็ม (ไทย) : วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางสัตว์)
ชื่อย่อ (ไทย) : วท.ม. (เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางสัตว์)
ชื่อเต็ม (อังกฤษ) : Master of Science (Animal Technology and Innovation)
ชื่อย่อ (อังกฤษ) : M.Sc. (Animal Technology and Innovation)
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
- นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย ทางด้านการผลิตสัตว์ สามารถประกอบอาชีพที่เกี่ยวกับการคิดค้นเทคโนโลยี
การนำเทคโนโลยีทางด้านการผลิตสัตว์ไปใช้ในอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ อุตสาหกรรมการผลิตอาหาร
สัตว์ อุตสาหกรรมการพัฒนาพันธุ์สัตว์ อุตสาหกรรมระบบการผลิตสัตว์ เป็นต้น - นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย ทางด้านการผลิตสัตว์ ในองค์กรของรัฐ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาปรับปรุงการ
ผลิตสัตว์ ระบบการผลิตสัตว์ การพัฒนาพันธุ์สัตว์ และการพัฒนาอาหารสัตว์ เป็นต้น - อาจารย์ทางด้านการผลิตสัตว์ในสถาบันการศึกษาระดับต่างๆ จนถึงระดับอุดมศึกษา
- ธุรกิจส่วนตัว และอาชีพอิสระ
หลักสูตร
แผน ก แบบ ก 1
เป็นการศึกษาที่เน้นการวิจัยโดยการทำวิทยานิพนธ์เพียงอย่างเดียว มีจำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 45 หน่วยกิต
แผน ก แบบ ก 2
เป็นการศึกษาที่เน้นการทำวิทยานิพนธ์และการเรียนรายวิชาที่คิดค่าคะแนน มีจำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 45 หน่วยกิต
คุณสมบัติของผู้ศึกษา
1. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาขั้นปริญญาตรีหรือเทียบเท่า หรือเป็นนักศึกษาภาคการศึกษาสุดท้ายของหลักสูตรปริญญาตรีของมหาวิทยาลัย หรือสถาบันอุดมศึกษาอื่นที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีรับรอง โดยมีผลการเรียนอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
1.1 แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.50 หรือเทียบเท่า หรือ
1.2 แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.00 หรือเทียบเท่า และแต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมในวิชาเอกของหลักสูตรปริญญาโทที่จะเข้าศึกษาไม่ต่ำกว่า 2.75 หรือเทียบเท่า หรือมีประสบการณ์การทำงานในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชา
ที่จะเข้าศึกษา โดยมีหนังสือรับรองจากหน่วยงานหรือผู้บังคับบัญชาว่ามีศักยภาพที่จะศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาได้
2.สาขาวิชาที่สำเร็จการศึกษา หรือกำลังศึกษาอยู่ ต้องเป็นสาขาวิชาเกษตรศาสตร์ วิทยาศาสตร์ หรือเทียบเท่า
3.สำหรับผู้ที่สมัครในแบบ ก 1 จะต้องมีประสบการณ์ทำงานการใช้เทคโนโลยีทางด้านสัตว์ หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง
4.กรณีที่ยังไม่สำเร็จการศึกษา จะต้องมีหลักฐานรับรองว่าจะสำเร็จการศึกษาก่อนวันรายงานตัวขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษา
โครงสร้างหลักสูตร
หมวดวิชา | หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (หน่วยกิต) | |||
---|---|---|---|---|
แผนการศึกษา | แบบ ก 1 | แบบ ก 2 | ||
แบบที่ 1 | แบบที่ 2 (สหกิจบัณฑิตศึกษา) | แบบที่ 3 (Double Degree Program) | ||
วิชาแกน | – | 7 | 7 | 7 |
วิชาเลือก1 | – | ไม่น้อยกว่า 18 | ไม่น้อยกว่า 10 | ไม่น้อยกว่า 23 |
วิทยานิพนธ์2 | ไม่น้อยกว่า 45 | ไม่น้อยกว่า 20 | ไม่น้อยกว่า 20 | ไม่น้อยกว่า 15 |
สหกิจบัณฑิตศึกษา | – | – | 8 | – |
รวม | ไม่น้อยกว่า 45 | ไม่น้อยกว่า 45 | ไม่น้อยกว่า 45 | ไม่น้อยกว่า 45 |
1 การเรียนรายวิชา นักศึกษาสามารถลงทะเบียนเรียนวิชาของสาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตสัตว์ หรือสาขาอื่นได้ โดยอยู่ในความเห็นชอบของ
สาขาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางสัตว์
2 การทำการวิจัยเพื่อทำวิทยานิพนธ์นั้น อาจกระทำทั้งหมดที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี หรือที่มหาวิทยาลัยหรือสถาบันวิจัยอื่นๆ ทั้งภายในและต่างประเทศซึ่งมีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยสุรนารี หรือเครือข่ายวิชาการที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีเป็นสมาชิก