หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพสำหรับการผลิตสัตว์น้ำ

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพสำหรับการผลิตสัตว์น้ำ

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพสำหรับการผลิตสัตว์น้ำ
(หลักสูตรนานาชาติ) (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2562)

 

ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย : หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพสำหรับการผลิตสัตว์น้ำ
ภาษาอังกฤษ : Master of Science Program in Biotechnology for Aquaculture (International Program)

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ชื่อเต็ม (ไทย) : วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เทคโนโลยีชีวภาพสำหรับการผลิตสัตว์น้ำ)
ชื่อย่อ (ไทย) : วท.ม. (เทคโนโลยีชีวภาพสำหรับการผลิตสัตว์น้ำ)
ชื่อเต็ม (อังกฤษ) : Master of Science (Biotechnology for Aquaculture)
ชื่อย่อ (อังกฤษ) : M.Sc (Biotechnology for Aquaculture)

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

  1. นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย ทางด้านการผลิตสัตว์น้ำ หรือเทคโนโลยีชีวภาพ สามารถประกอบอาชีพที่เกี่ยวกับการคิดค้นเทคโนโลยี นวัตกรรม การนำเทคโนโลยีชีวภาพทางด้านการผลิตสัตว์น้ำไปใช้ใน
    อุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์น้ำ อุตสาหกรรมการผลิตอาหารสัตว์น้ำ อุตสาหกรรมการผลิตและพัฒนาพันธุ์สัตว์น้ำ อุตสาหกรรมระบบการผลิตสัตว์น้ำ เป็นต้น
  2. อาจารย์หรือนักวิจัยทางด้านการผลิตสัตว์น้ำ เทคโนโลยีชีวภาพด้านที่เกี่ยวข้องในสถาบันการศึกษาระดับต่างๆ จนถึงระดับอุดมศึกษา และองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย
  3. อาจารย์ทางด้านการผลิตสัตว์ในสถาบันการศึกษาระดับต่าง ๆ จนถึงระดับอุดมศึกษา
  4. ธุรกิจส่วนตัว และอาชีพอิสระ

หลักสูตร

  1. หลักสูตร แผน ก แบบ ก 1 เป็นการศึกษาที่เน้นการวิจัยโดยการทำวิทยานิพนธ์เพียงอย่างเดียว มีจำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 48
    หน่วยกิต
  2. หลักสูตร แผน ก แบบ ก 2 เป็นการศึกษาที่เน้นการทำวิทยานิพนธ์และการเรียนรายวิชาที่คิดค่าคะแนน มีจำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต หรือไม่น้อยกว่า 53 หน่วยกิต สำหรับแนวทางแบบมีสหกิจบัณฑิตศึกษา

คุณสมบัติของผู้ศึกษา

1. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาขั้นปริญญาตรีหรือเทียบเท่า หรือเป็นนักศึกษาภาคการศึกษาสุดท้ายของหลักสูตรปริญญาตรีของมหาวิทยาลัย หรือสถาบันอุดมศึกษาอื่นที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีรับรอง โดยมีผลการเรียนอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
   1) แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.50 หรือเทียบเท่า หรือ
   2) แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.00 หรือเทียบเท่า และแต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมในวิชาเอกของหลักสูตรปริญญาโทที่จะเข้าศึกษาไม่ต่ำกว่า 2.75 หรือเทียบเท่า หรือมีประสบการณ์การทำงานในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่จะเข้าศึกษา โดยมีหนังสือรับรองจากหน่วยงานหรือผู้บังคับบัญชาว่ามีศักยภาพที่จะศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาได้
2.สาขาวิชาที่สำเร็จการศึกษา หรือกำลังศึกษาอยู่ ต้องเป็นสาขาวิชาเกษตรศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ประมง วาริชศาสตร์ เทคโนโลยีทางทะเล เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ หรือเทียบเท่า
3.สำหรับผู้ที่สมัครในแบบ ก 1 จะต้องมีประสบการณ์ทำงานการใช้เทคโนโลยีทางด้านสัตว์น้ำ หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง
4.กรณีที่ยังไม่สำเร็จการศึกษา จะต้องมีหลักฐานรับรองว่าจะสำเร็จการศึกษาก่อนวันรายงานตัวขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษา
5. มีคะแนนสอบภาษาอังกฤษเป็นไปตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด

โครงสร้างหลักสูตร

1 การเรียนรายวิชา นักศึกษาสามารถลงทะเบียนเรียนวิชาของหลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพสำหรับการผลิตสัตว์น้ำ รายวิชาที่เปิดสอนโดยสาขาอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี หรือรายวิชาที่เปิดสอนใมหาวิทยาลัยหรือสถาบันวิจัยอื่นๆ ทั้งภายในและต่างประเทศซึ่งมีความ
ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีหรือเครือข่ายวิชาการที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีเป็นสมาชิกได้ โดยอยู่ในความเห็นชอบของ
สาขาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางสัตว์

2 การทำการวิจัยเพื่อทำวิทยานิพนธ์นั้น อาจกระทำทั้งหมดที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี หรือที่มหาวิทยาลัยหรือสถาบันวิจัยอื่นๆ ทั้งภายในและต่างประเทศซึ่งมีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี หรือเครือข่ายวิชาการที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีเป็นสมาชิก

3 สหกิจบัณฑิตศึกษา 8 หน่วยกิต มีระดับคะแนนเป็นผ่าน (S) หรือไม่ผ่าน (U) เป็นแนวทางเลือกใหม่จากการศึกษาแบบปกติ

X