หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ (หลักสูตรนานาชาติ)

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ (หลักสูตรนานาชาติ)

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ
(หลักสูตรนานาชาติ) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565)

 

ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย: หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ (หลักสูตรนานาชาติ)

ภาษาอังกฤษ: Doctor of Philosophy Program in Biotechnology (International Program)

 

ชื่อปริญญา

ชื่อเต็ม

ภาษาไทย: ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (เทคโนโลยีชีวภาพ)

ภาษาอังกฤษ: Doctor of Philosophy (Biotechnology)

ชื่อย่อ

ภาษาไทย: วท.ด. (เทคโนโลยีชีวภาพ)

ภาษาอังกฤษ: Ph.D (Biotechnology)

 

รูปแบบของหลักสูตร

รูปแบบ: หลักสูตรนานาชาติระดับปริญญาโท

  • แบบ 1 เป็นแผนการศึกษาที่เน้นการวิจัยโดยมีการทำวิทยานิพนธ์เพียงอย่างเดียว
    • แบบ 1.1 สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จการศึกษาขั้นปริญญาโท หน่วยกิตรวม ตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 60 หน่วยกิต
  • แบบ 2 เป็นแผนการศึกษาที่เน้นการวิจัยโดยมีการทำวิทยานิพนธ์และการเรียนรายวิชา นักศึกษาสามารถลงทะเบียนเรียนวิชาของสาขาเทคโนโลยีชีวภาพ หรือสาขาอื่นได้ โดยอยู่ในความเห็นชอบของสาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ
    • แบบ 2.1 สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จการศึกษาขั้นปริญญาโท หน่วยกิตรวม ตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 60 หน่วยกิต
    • แบบ 2.2 สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จการศึกษาขั้นปริญญาตรี หน่วยกิตรวม ตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 90 หน่วยกิต โดยเลือกเรียนในกลุ่มวิชาที่อยู่ในความเห็นชอบของสาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ

 

คุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์สมัคร

  1. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาขั้นปริญญาตรีหรือเทียบเท่าจากสถาบันอุดมศึกษาที่มหาวิทยาลัยรับรอง หรือมีหลักฐานรับรองว่าจะสำเร็จการศึกษาขั้นปริญญาตรีหรือเทียบเท่าจากสถาบันอุดมศึกษาที่มหาวิทยาลัยรับรอง และต้องมีคุณสมบัติอื่นตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด
  2. แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.50 หรือเทียบเท่า หรือ
  3. หากไม่เป็นไปตามข้อ 2 ต้องมีแต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมในวิชาเอกของหลักสูตรปริญญาโทที่จะเข้าศึกษาไม่ต่ำกว่า 2.75
    หรือเทียบเท่า หรือมีประสบการณ์การทำงานในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่จะเข้าศึกษา โดยมีหนังสือรับรองจากหน่วยงานหรือผู้บังคับบัญชาว่ามีศักยภาพที่จะศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาได้

 

วิธีการคัดเลือก

          ใช้วิธีคัดเลือกและสอบสัมภาษณ์เป็นภาษาอังกฤษ โดยคณะกรรมการคัดเลือกนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาโดยพิจารณาจากผลการศึกษาตามวุฒิการศึกษาที่ใช้สมัคร ประสบการณ์และประวัติการทำงาน และผลการสอบสัมภาษณ์

 

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังจบการศึกษา

  1. การทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมเครื่องดื่ม อุตสาหกรรมยาและเวชภัณฑ์ อุตสาหกรรมเกษตร
  2. การทำงานในหน่วยให้บริการทางการแพทย์และเภสัช และอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
  3. การทำงานในด้านการวางแผนการผลิต การควบคุมการผลิต การวิจัยและพัฒนา
  4. ประกอบอาชีพอื่น ๆ เช่น การเป็นนักวิจัย อาจารย์ หรือเจ้าของกิจการ

หลักสูตร

  1. แผน ก แบบ ก 1 เป็นแผนการศึกษาที่เน้นการวิจัย โดยมีการทำวิทยานิพนธ์เพียงอย่างเดียว เรียนไม่น้อยกว่า 45 หน่วยกิต
  2. แผน ก แบบ ก 2 เป็นแผนการศึกษาที่เน้นการทำวิทยานิพนธ์และการเรียนรายวิชา โดยมีหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 45 หน่วยกิต ประกอบด้วย วิชาบังคับ 7 หน่วยกิต วิชาเลือก (รวมถึงสหกิจศึกษา) ไม่น้อยกว่า 8 หน่วยกิต และวิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 15 หน่วยกิต

โครงสร้างหลักสูตร

* รายวิชาเลือก หมายรวมถึงรายวิชาใด ๆ ที่เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรร่วมในลักษณะต่าง ๆ เช่น joint degree, sandwich program ของสถานบันการศึกษาที่มีบันทึกความเข้าใจ (MOU) กับ มทส.

โดยรายวิชาเลือกของหลักสูตรปรับปรุงใหม่ มีวิชาสหกิจบัณฑิตศึกษา ซึ่งมี 8 หน่วยกิต และมีระดับคะแนนเป็น ผ่าน (S) หรือ ไม่ผ่าน (U) เพิ่มเข้ามา เพื่อให้เป็นแนวทางเลือกใหม่จากการศึกษาแบบปกติ นักศึกษาที่สนใจและมีคุณสมบัติเหมาะสม อาจเลือกรายวิชานี้แทนหมวดวิชาเลือกได้ตั้งแต่ 8 หน่วยกิตขึ้นไป

Program Learning Outcomes (PLO)

Students in our curriculum will have be able to :

1.1. PLO1 (Remember) TQF-2
Describe the definition of Biotechnology and identify key bio-innovations

1.2. PLO2 (Understand) TQF-2
Understand the key concepts (Conceptualize important knowledge) in biological sciences (microbiology, molecular cell biology, biochemistry) and principle technology (bioprocess engineering) that are essential for creating bio-innovations

1.3. PLO3 (Apply) TQF-1&4
Operate scientific research project under the guideline of ethic codes

1.4. PLO4 (Analyze) TQF 3,5
Implement current techniques in biotechnology to answer various relevant scientific problems related to specific area of interest

1.5. PLO5 (Analyze) TQF 3,5
Identify socioeconomically problems that can be solved by biotechnology related to specific area of interest

1.6. PLO6 (Evaluate) TQF 2,3
Criticize scientific reported published in various sources and defend the integrity of conclusions drawn from their own research thesis, which is related to specific area of interest, independently.

1.7. PLO7 (Create) TQF 1,2,3,5
Design scientific experiments to solve problem and to create bio-innovations that can solve specific problem related to specific area of interest, independently.

1.8. PLO8 (Create) TQF 1,3,4,5
Compose results of novel scientific knowledge for publication in international journal with impact factor and deliver oral presentation in international scientific conferences related to specific area of interest,

X