สรุปผลการอบรมโครงการพัฒนาความรู้ผู้ตรวจสอบภายในประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 ระหว่างวันที่ 20 – 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

การอบรมโครงการพัฒนาความรู้ผู้ตรวจสอบภายใน

หลักการและเหตุผล

                   มาตรฐานการตรวจสอบภายในตามหลักเกณฑ์กระทรวงการคลังได้กำหนดให้ผู้ตรวจสอบภายในจำเป็นต้องมีความรู้ ทักษะและความสามารถอื่น ๆ ที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานด้านตรวจสอบภายใน รวมทั้งใช้เทคนิค วิธิการตรวจสอบ และการเขียนรายงานผลการตรวจสอบซึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการตรวจสอบ และเป็นเครื่องมือของผู้ตรวจสอบภายในที่จะใช้ในการติดต่อกับฝ่ายบริหารให้ทราบถึงข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่ตรวจพบ รวมทั้งการเสนอแนะนวทางหรือมาตรการที่จะทำให้ผลการดำเนินงานสามารถบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดไว้

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อให้ผู้ตรวจสอบภายในได้รับความรู้ด้านเทคนิค วิธีการรายงานผลการตรวจสอบเชิงปฏิบัติการ
  2. เพื่อให้ผู้ตรวจสอบภายในนำความรู้ที่ได้มาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานตรวจสอบ
  3. เพื่อให้ผู้ตรวจสอบภายในสามารถรายงานผลการตรวจสอบที่มีคุณภาพ มีความถูกต้องน่าเชื่อถือเป็นที่ยอมรับของผู้บริหารและหน่วยรับตรวจ

ระยะเวลาการอบรม      จำนวน 2 วัน     ระหว่างวันที่ 20 – 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ      นายนนทพล  นิ่มสมบุญ  คณะกรรมการตรวจสอบ

เนื้อหาการอบรมประกอบด้วย

  1. การเขียนรายงานผลการตรวจสอบภายใน ประเภทของรายงานผลการตรวจสอบ

องค์ประกอบของรายงานผลการตรวจสอบข้อตรวจพบทั้ง 5 องค์ประกอบ  รูปแบบแผนปฏิบัติการ (Action Plan) การติดตามผลการตรวจสอบ และการเสริมสร้างประสิทธิภาพของรายงานผลการตรวจสอบให้มีคุณภาพ

  1. การอภิปรายระดมความคิดเห็นของผู้ตรวจสอบภายใน ดังนี้ 2.1 องค์ประกอบข้อตรวจพบ   จากตัวอย่างกรณีศึกษาทั้ง   4   หน่วยงาน    ได้แก่

โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี  ฟาร์มมหาวิทยาลัย  โรงเรียนสุรวิวัฒน์ และศูนย์อนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ (อพ.สธ.มทส.) 2.2 กรณีศึกษาจากการอ่านบทความเอกสารเพิ่มเติมเพื่อจับใจความตรงจุดใดที่อ่านไม่เข้าใจที่มีคำหรือวลีฟุ่มเฟือย  ศัพท์ที่รู้เฉพาะกลุ่ม  ศัพท์เชิงวิชาการที่อ่านเข้าใจยากและเป็นภาษาพูด

รายชื่อผู้เข้าร่วมกิจกรรม

  1. นางศิริรัตน์      เนาว์วงษ์                   หัวหน้าหน่วยตรวจสอบภายใน
  2. นายจีรศักดิ์ ตั้งปฏิพัทธ์                 เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป
  3. นางนฤมล ทีจันทึก                    เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป
  4. นางสาวอรวรรณ จรุงจิตอภินันท์ เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป
  5. นางลิขิต เพิ่มงาม                    เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป
  6. นางวิลาสินี วงศ์พินทุ                   เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป
  7. นางสาวสุดารัตน์ รุ่งเรือง เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป
  8. นางสาวชีวารัตน์ ฤทธิ์ชูชัย                   พนักงานธุรการ

*ลำดับที่ 5 เข้าร่วมการอบรมทาง Online

สิ่งที่ได้รับจากการอบรมตามโครงการพัฒนาความรู้

  1. ได้รับทราบหลักการตรวจสอบ การสอบทานและประเมินผลการปฏิบัติงานของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ที่ผู้ตรวจสอบต้องมีความเป็นกลาง ความเป็นอิสระ และสามารถนำแนวความคิดดังกล่าวมาปรับใช้ในการเขียนรายงานผลการตรวจสอบได้อย่างเหมาะสม
  2. การเขียนข้อตรวจพบ 5 องค์ประกอบ ได้แก่

2.1 ข้อเท็จจริง (Condition) เป็นสิ่งที่พบจากการตรวจสอบ ซึ่งอาจเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดหรือไม่ก็ได้ ในการตรวจสอบข้อเท็จจริงเป็นสิ่งสำคัญของเรื่องที่ตรวจพบ จึงต้องมีข้อมูลสนับสนุนอย่างเพียงพอ

2.2 หลักเกณฑ์ (Criteria) สิ่งที่ควรเป็น มาตรฐานการปฏิบัติงานที่ใช้อ้างอิงเปรียบเทียบในกระบวนการทำงาน

2.3 สาเหตุ (Causes) เป็นต้นเหตุของความแตกต่างระหว่างหลักเกณฑ์กับข้อเท็จจริง การวิเคราะห์หาสาเหตุเพื่อกำหนดแนวทางแก้ไข

2.4 ผลกระทบ (Effect หรือ Impact) ผลของความแตกต่างที่เกิดขึ้นที่อาจสร้างความเสียหายกับหน่วยงานควรพิจารณาถึงผลกระทบที่มีต่อการดำเนินงานและต่อการเงิน

2.5 ข้อเสนอแนะ (Recommendations) แนวทางแก้ไขปัญหาในการเขียนข้อเสนอแนะผู้ตรวจสอบภายในต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงที่ตรวจพบว่ามีสาเหตุจากอะไร การเขียนข้อเสนอแนะต้องมีแนวทางแก้ไขปัญหาที่ชัดเจน

  1. การจัดทำรายงานผลการตรวจสอบที่มีคุณภาพจะช่วยให้เกิดประโยชน์และการพัฒนาต่อหน่วยรับตรวจ ซึ่งจะเป็นเสริมประสิทธิภาพของรายงานผลการตรวจสอบจำเป็นต้องสื่อสารสิ่งที่ต้องการเสนออย่างตรงประเด็น ชัดเจน เน้นประเด็นที่มีนัยสำคัญและให้เกิดการสั่งการจากอธิการบดี

ทั้งนี้ หน่วยตรวจสอบภายในจะนำไปปรับใช้ในรายงานผลการตรวจสอบ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 อาทิ บทสรุปผู้บริหาร  การนำประเด็นตรวจสอบที่มีศักยภาพที่เป็นข้อตรวจพบที่สำคัญและมีประโยชน์ (MOPS)  และการนำ MOPS ที่ได้รับการพิสูจน์แล้วเป็นเรื่องจริง มีความสำคัญและมีประโยชน์ควรได้รับการแก้ไขปรับปรุง (MOS) และแผนปฏิบัติการ (Action Plan) เพื่อใช้ในการติดตามผลการตรวจสอบ

X