มาทำความรู้จัก PDPA พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

 

ข้อมูลส่วนตัว คือ ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลนั้นๆ ซึ่งข้อมูลส่วนตัวจะมีดังนี้ ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ อีเมล , ข้อมูลบัตรประจำตัวประชาชน, การศึกษา รูปถ่าย รวมทั้งข้อมูลที่มีความละเอียดอ่อน เช่น ศาสนา เชื้อชาติ ความเห็นทางการเมือง ประวัติอาชญากรรม ฯลฯ

ที่มาของกฎหมาย PDPA

กฎหมาย PDPA เป็นกฎหมายที่ใช้เป็นสากลทั่วโลก โดยประเทศไทยได้ประยุกต์กฎหมาย PDPA กฎหมายคุ้มครองคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของ EU หรือ General Data Protection Regulation  (GDPR) ซึ่งประเทศไทยได้นำกฎพื้นฐานต่างๆ มาใช้ เช่น การใช้สิทธิ์การเข้าถึงข้อมูล การบังคับใช้กฎหมาย ฯลฯ

PDPA มีไว้เพื่ออะไร

PDPA เป็นกฎหมายที่ใช้ปกป้องข้อมูลส่วนตัวของแต่ละบุคคล โดยต้องผ่านความยินยอมจากเจ้าของข้อมูล โดยเจ้าของข้อมูลมีสิทธิ์ที่จะทำอะไรกับข้อมูลส่วนตัวของตนเองก็ได้ เช่น เปิดเผย ปิดข้อมูล โอนข้อมูล ลบ ทำลาย หรือแก้ไขข้อมูลส่วนตัว และผู้อื่นไม่มีสิทธิ์ไปรุกล้ำข้อมูลส่วนตัวของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาตได้เช่นกัน  และการที่จะเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวของผู้อื่นได้ต้องได้รับการยินยอมก่อน ถ้าเจ้าของข้อมูลไม่ยินยอมให้ข้อมูล แต่อีกฝ่ายยังเข้าละเมิดสิทธิ์ ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย และต้องรับโทษตามกฎหมาย

กฎหมายนี้ใช้กับใครได้บ้าง

กฎหมายนี้จะใช้ได้กับคน 3 กลุ่ม ได้แก่

  • บุคคลที่เป็นเจ้าของข้อมูล (Data Subject)
  • บุคคลที่มีสิทธิ์ตัดสินใจและเปิดเผยข้อมูล (Data Controller)
  • บุคคลประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (Data Processor)

ภาคธุรกิจต้องมีการเตรียมตัวอย่างไรบ้าง

สำหรับภาคธุรกิจนั้นไม่จำเป็นต้องทำอะไรมากมายเลย เพียงแค่ทำตามกฎหมายนี้ และต้องคิดว่าจะเก็บข้อมูลลูกค้าอย่างไรให้ปลอดภัยและต้องตระหนักว่าข้อมูลส่วนใดสามารถขอได้หรือขอไม่ได้ นอกจากนี้ยังต้องทำเอกสารขอความยินยอมขอข้อมูลส่วนตัวจากลูกค้า ส่วนลูกค้าจะยอมให้ข้อมูลหรือไม่ ก็แล้วแต่ว่าลูกค้าจะตัดสินใจอย่างไร โดยแบบฟอร์มเอกสารจะต้องอธิบายว่าจะนำข้อมูลส่วนใดไปใช้ทำอะไรบ้าง เพื่อให้ลูกค้าและผู้ประกอบธุรกิจเข้าใจตรงกันและจะทำตามข้อตกลงที่ได้ทำไว้ ซึ่งเอกสารนี้จะต้องเปิดทางเลือกให้กับลูกค้าว่าจะรับหรือไม่รับข้อตกลงเหล่านี้เอาไว้ด้วย

โทษของ พ.ร.บ.

หากทำผิดกฎหมาย ย่อมมีการลงโทษ โดยโทษของ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลมีดังนี้ ทางอาญา จำคุก 1 ปี หรือปรับสูงสุด 1 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ทางแพ่ง ต้องจ่ายค่าเสียหายตามจริงหรือตามที่ผู้เสียหายเรียกร้อง ทางปกครองปรับไม่เกิน 5,000,000 บาท

X