Manufacturing Automation and Robotics Engineering

Manufacturing Automation and Robotics Engineering

วิศวกรรมการผลิตอัตโนมัติและหุ่นยนต์

Manufacturing Automation and Robotics Engineering

หลักสูตรปรับปรุง 60

  • ปรัชญาและความสำคัญ

          ความต้องการสร้างความเข้มแข็งในภาคการผลิตทางอุตสาหกรรมมีความจำเป็นเป็นอย่างยิ่ง เพื่อยกระดับมาตรฐานสินค้าที่ผลิตในประเทศให้มีคุณภาพที่ดีขึ้นและสามารถแข่งขันกับนานาประเทศได้ภายใต้ผลกระทบจากสถานการณ์ต่าง ๆ ได้แก่ การเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลของนานาประเทศที่ทำให้ระยะทางสั้นลงด้วยการติดต่อสื่อสารที่สะดวกมากขึ้น การมีเทคโนโลยีใหม่ ๆ การตอบสนองต่อนโยบาย Thailand 4.0 ของประเทศที่ต้องการให้เกิดการขับเคลื่อนประเทศด้วยฐานความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรม การเตรียมตัวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ของประเทศที่ต้องการการใช้แรงงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และจากข้อมูลข้อเสนอแนะจากการสำรวจความคิดเห็นของศิษย์เก่าและผู้ใช้บัณฑิต เหล่านี้ล้วนแล้วแต่สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกันที่มุ่งเน้นให้เกิดการพัฒนาทางด้านระบบผลิตอัตโนมัติเชิงอุตสาหกรรม

           อุตสาหกรรมที่มีการขยายตัวและเป็นอุตสาหกรรมหลักที่บัณฑิตศิษย์เก่าสาขาวิชาวิศวกรรมการผลิตได้เข้าสู่ส่วนการผลิต ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมต่อเนื่องต่าง ๆ ต้องอาศัยเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัยที่ต้องบูรณาการองค์ความรู้ทางวิศวกรรม ความรู้จากศาสตร์ในการผลิตทั้งด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ในด้านการออกแบบและควบคุมระบบควบคุมอัตโนมัติ ศาสตร์ด้านการออกแบบวิเคราะห์ระบบการผลิตและเครื่องมือช่วยในการผลิต การออกแบบชิ้นส่วนเครื่องจักรกล ต้องการบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถเพื่อให้ได้ผลิตผลและคุณภาพที่สามารถแข่งขันได้ทั้งในระดับประเทศและระดับสากล

            มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ได้ตระหนักถึงความสำคัญทางด้านการผลิตนี้เป็นอย่างดี จึงได้มีการจัดตั้งสาขาวิชาวิศวกรรมการผลิต ให้เป็นสาขาวิชาหนึ่งของการผลิตบัณฑิตทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ซึ่งถือเป็นพันธกิจที่สำคัญที่ทางมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีวางเป้าหมายไว้ โดยมุ่งเน้นสร้างวิศวกรที่มีความรู้ด้านระบบผลิตอัตโนมัติและหุ่นยนต์เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพในภาคการผลิตเชิงอุตสาหกรรมให้กับประเทศ

  • วัตถุประสงค์ (Program Educational Objectives, PEOs)

     หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมการผลิตอัตโนมัติและหุ่นยนต์ มีวัตถุประสงค์ คือ
   PEO 1. สร้างมูลค่าให้กับองค์กรและสังคมโดยการประยุกต์ใช้หลักการ ทักษะ และเทคโนโลยีทางวิศวกรรมการผลิต รวมถึงการวิเคราะห์ ออกแบบ และแก้ปัญหาทางวิศวกรรม
Created value to organizations through the analysis, evaluation, and improvement of engineered systems and processes using appropriate manufacturing engineering methods and tools.
   PEO 2. สื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพข้ามศาสตร์และวัฒนธรรม เพื่อจัดการและ/หรือเป็นผู้นำในกิจกรรมต่าง ๆ ที่สนับสนุนเป้าหมายและวัตถุประสงค์ขององค์กร
Communicated effectively across disciplines and cultures to manage and/or lead activities in support of organizational goals and objectives.
   PEO 3. พัฒนาตนเองตลอดเส้นทางอาชีพเพื่อเพิ่มพูนความรู้ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีในการมีส่วนร่วมอย่างมีนัยสำคัญกับนวัตกรรมเทคโนโลยี
Graduates will pursue lifelong learning in generating innovative engineering solutions using research and complex problem-solving skills.

  • รูปแบบของหลักสูตร

  1. รูปแบบ หลักสูตรระดับปริญญาตรีหลักสูตร 4 ปี ตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา

  2. ประเภทของหลักสูตร หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการ

  3. ภาษาที่ใช้ จัดการเรียนการสอนเป็นภาษาไทย และ/หรือ ภาษาต่างประเทศ

  4. การรับเข้าศึกษา ให้เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีว่าด้วยการศึกษาขั้นปริญญาตรี พ.ศ. 2546 หมวดที่ 1 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

  5. ความร่วมมือกับสถาบันอื่น เป็นหลักสูตรเฉพาะของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีที่จัดการเรียนการสอนโดยตรง

  6. การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว

  • ปรัชญาการเรียนการสอน

          สาขาวิชาวิศวกรรมการผลิตมีความเชื่อว่าที่ไหนมีการผลิตที่นั่นมีเรา ผู้เรียนทุกคนสามารถพัฒนาได้ถ้าได้รับการสนับสนุน และการเรียนรู้ตลอดชีวิตเป็นสิ่งที่จำเป็น เราจึงมีความตั้งใจว่าถึงแม้ผู้เรียนจะมีพื้นฐานที่แตกต่างกันแต่สามารถพัฒนาเพื่อให้มีทักษะที่จำเป็นในการทำงานด้านอุตสาหกรรมการผลิตได้ ผู้เรียนที่ผ่านกระบวนการเรียนรู้จากสาขาวิชา ฯ แล้วจะมีทักษะที่หลากหลาย หากต้องเผชิญกับสถาณการณ์ที่ท้าทายจะสามารถค้นคว้าหาข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ เพื่อแก้ปัญหาได้ 
          สำหรับวิธีการในการพัฒนาทักษะเหล่านี้ เราใช้กิจกรรมการเรียนรู้ผ่านทางการเรียนการสอนที่มีการลงมือปฏิบัติ มีโครงงานทางด้านวิศวกรรมในรายวิชาและเพื่อสำเร็จการศึกษา ซึ่งวิธีการนี้ผู้เรียนจะสามารถคิด วิเคราะห์ บูรณาการความรู้ ออกแบบและควบคุมระบบอัตโนมัติอุตสาหกรรม รับผิดชอบในหน้าที่ สื่อสาร ติดต่อประสานงานกับบุคคลในต่างสาขาวิชาชีพ อีกทั้งนำเสนอข้อมูลด้วยสื่อประเภทต่าง ๆ ได้สอดคล้องกับสถานการณ์และทำงานร่วมกับผู้อื่นที่มีความหลากหลายทางวิชาชีพได้ เรากระตุ้นให้ผู้เรียนค้นหาแนวทางการแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง เราให้คำแนะนำและจัดสิ่งสนับสนุนในการเรียนการสอนให้เหมาะสม

Previous
Next
  • ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

 ชื่อเต็ม  (ไทย):  วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมการผลิต                                อัตโนมัติและหุ่นยนต์)

(อังกฤษ):  Bachelor of Engineering (Manufacturing                    Automation and Robotics Engineering)

 ชื่อย่อ  (ไทย):  วศ.บ. (วิศวกรรมการผลิตอัตโนมัติและหุ่นยนต์)

               (อังกฤษ):  B.Eng. (Manufacturing Automation and                                      Robotics Engineering)

  • ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย:  หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมการ                ผลิตอัตโนมัติและหุ่นยนต์

ภาษาอังกฤษ:  Bachelor of Engineering Program in                                 Manufacturing Automation and Robotics                           Engineering

  • จำนวนหน่วยกิต

          หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต:

       ตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 187 หน่วยกิต (ไตรภาค)

  • อัตลักษณ์

          Able to learn

          Able to function

  • ผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ (PLOs)

เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว ผู้เรียนสามารถ

  1. อธิบายความรู้พื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ เทคโนโลยีและสังคมศาสตร์

  2. วิเคราะห์และแก้ปัญหาทางด้านวิศวกรรมการผลิต

  3. บูรณาการความรู้ด้านวิศวกรรมการผลิต เพื่อออกแบบและควบคุมระบบอัตโนมัติอุตสาหกรรมได้

  4. รับผิดชอบในหน้าที่

  5. สามารถสื่อสาร ติดต่อประสานงานกับบุคคลในต่างสาขาวิชาชีพได้ อีกทั้งสามารถนำเสนอข้อมูลด้วยสื่อประเภทต่าง ๆ ได้สอดคล้องกับสถานการณ์และผู้ฟัง

  6. แสวงหาองค์ความรู้และเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง

  7. สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นที่มีความหลากหลายทางวิชาชีพได้

  • อาชีพที่สามารถประกอบอาชีพได้หลังสำเร็จการศึกษา

  1. วิศวกรออกแบบการผลิต

  2. วิศวกรควบคุมกระบวนการผลิต

  3. วิศวกรการผลิต

  4. วิศวกรวางแผนการผลิต

  5. วิศวกรควบคุมคุณภาพ

  6. วิศวกรออกแบบ

  7. นักวิชาการหรือนักวิจัย

X