ระดับปริญญาตรี

ระดับปริญญาตรี

หลักสูตรระดับปริญญาตรี

 

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยา 2565

ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย                           หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยา

ภาษาอังกฤษ                       Bachelor of Science Program in Biology

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ภาษาไทยวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (ชีววิทยา)
ชื่อย่อภาษาไทยวท.บ. (ชีววิทยา)
ภาษาอังกฤษBachelor of Science (Biology)
ชื่อย่อภาษาอังกฤษB.Sc. (Biology)

 

โครงสร้างหลักสูตร

จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 165 หน่วยกิต

(1) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป

ผู้เข้าศึกษาจะต้องลงทะเบียนเรียน ไม่น้อยกว่า  38  หน่วยกิต ประกอบด้วย

กลุ่มวิชาแกนศึกษาทั่วไป15 หน่วยกิต
กลุ่มวิชาภาษาต่างประเทศ15 หน่วยกิต
กลุ่มวิชาศึกษาทั่วไปแบบเลือก8 หน่วยกิต

(2) หมวดวิชาเฉพาะ

ผู้เข้าศึกษาจะต้องลงทะเบียนเรียน ไม่น้อยกว่า  110  หน่วยกิต ประกอบด้วย

วิชาแกน36 หน่วยกิต
วิชาแกนสาขา20 หน่วยกิต
วิชาเฉพาะสาขา54 หน่วยกิต
–          วิชาบังคับ46 หน่วยกิต
–          วิชาเลือกเฉพาะด้านไม่น้อยกว่า8 หน่วยกิต

(3) หมวดวิชาสหกิจศึกษา และโครงงาน

ผู้เข้าศึกษาจะต้องลงทะเบียนเรียน ไม่น้อยกว่า  9  หน่วยกิต ประกอบด้วย

เตรียมสหกิจศึกษา1 หน่วยกิต
สหกิจศึกษา หรือ โครงงาน8 หน่วยกิต

(4) หมวดวิชาเลือกเสรี

ผู้เข้าศึกษาจะต้องลงทะเบียนเรียน ไม่น้อยกว่า  8  หน่วยกิต ประกอบด้วย

วิชาเลือกเสรีไม่น้อยกว่า8 หน่วยกิต

 

แผนการศึกษา

  1. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาชีววิทยา
  2. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาชีววิทยา สำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษา
  3. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาชีววิทยา สำหรับผู้ที่ต้องการเพิ่มทักษะกับผู้ประกอบการ
  4. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาชีววิทยา สำหรับผู้ที่ต้องการบูรณาการเนื้อหาทางวิชาการกับพื้นฐานการประกอบการธุรกิจและนวัตกรรม
  5. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาชีววิทยา สำหรับผู้ที่ต้องการบูรณาการเนื้อหาทางวิชาการกับพื้นฐานการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง (PLOs) ของหลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาชีววิทยา

  1. นักศึกษามีทัศนคติในการเป็นผู้ประกอบการ
  2. นักศึกษาสามารถอธิบายหลักการสำคัญทางชีววิทยาด้านต่าง ๆ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในประเด็นที่เกี่ยวข้องได้
  3. นักศึกษาสามารถอธิบายหลักการและมีทักษะในการทำปฏิบัติการทางชีววิทยา
  4. นักศึกษาสามารถอธิบายเกี่ยวกับจรรยาบรรณนักวิจัย และทำวิจัยโดยตระหนักถึงหลักจริยธรรม
  5. นักศึกษาสามารถประยุกต์ทักษะการค้นคว้า และใช้สารสนเทศในการเรียนรู้สิ่งใหม่ และหาข้อมูลเพื่อแก้ปัญหาด้านต่าง ๆ ได้
  6. นักศึกษามีทักษะการสื่อสารว่าภาษาไทยและภาษาอังกฤษในระดับที่ใช้การได้
  7. นักศึกษามีทักษะการทำงานเป็นทีม ความเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี มีความรับผิดชอบต่อส่วนรวม สามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ และสังคม
  8. นักศึกษาสามารถวิเคราะห์เชิงตัวเลขและใช้โปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องทางด้านชีววิทยา
  9. นักศึกษาสามารถใช้ความรู้ทางด้านชีววิทยาเพื่อเสนอแนวทางในการแก้โจทย์ปัญหาที่เกี่ยวข้อง
  10. นักศึกษาสามารถวิเคราะห์และประเมินความรู้จากบทความวิจัยเพื่อหาแนวคิดในการพัฒนาโจทย์วิจัยด้านชีววิทยา
  11. นักศึกษาสามารถทำโครงการวิจัยหรือโครงงานเพื่อตอบโจทย์วิจัย ด้านชีววิทยา หรือพัฒนาไปสู่ชีวนวัตกรรมเพื่อส่งเสริมไปสู่การทำวิจัยขั้นสูง หรือการเป็นผู้ประกอบการ หรือการปฏิบัติงานในสถานประกอบการ หรือการประกอบอาชีพครู

 

อัปเดตล่าสุด 8 มิถุนายน 2566

X