กิจกรรมการแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับนักวิจัยดีเด่นและเมธีวิจัยอาวุโส

สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จัดกิจกรรม”การแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับนักวิจัยดีเด่นและเมธีวิจัยอาวุโส” เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2565 ณ ห้องประชุม C2-124 อาคารวิชาการ 2 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.จิรวัฒน์ ยงสวัสดิกุล อาจารย์ประจำสาขาวิชาเทคโนโลยีอาหาร สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร เมธีวิจัยอาวุโส วช. ประจำปี 2565 และ รองศาสตราจารย์ ดร.รังสรรค์ พาลพ่าย อาจารย์ประจำสาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2564 เป็นวิทยากรในการประชุมสัมมนาครั้งนี้

สรุปประเด็นสำคัญจากการบรรยาย

  • “PASSION” ความหลงใหลในงานของตนเอง ความกระหายที่จะหาคำตอบในสิ่งที่เราไม่รู้ เป็นสิ่งสำคัญที่จะขับเคลื่อนให้นักวิจัยประสบผลสำเร็จ และควรปลูกฝัง สร้างสิ่งเหล่านี้ให้กับลูกศิษย์ต่อไป
  • “Patient” ความอดทน ความพยายาม เป็นสิ่งที่นักวิจัย หรือบัณฑิตศึกษาควรมีไว้เสมอ อย่ายอมแพ้ในสิ่งที่คุณทำ การอ่านเยอะ ๆ การฝึกฝน ลงมือปฏิบัติเยอะ ๆ ให้รีบทำ รีบล้มเหลวให้ไวเพื่อแก้ไข เรียนรู้จากความผิดพลาด ความไม่พร้อมไม่ใช่ปัญหา แต่เราต้องหาทางแก้ไข
  • “Make / Take the chance” การเสาะแสวงหา การสร้างโอกาสให้ตัวเอง การเรียนรู้ การร่วมทำงานกับคนเก่ง การสร้างประสบการณ์ การเพิ่มพูนความรู้ให้กับตนเอง เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการพัฒนาเสมอ
  • “Collaboration” การร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญ หรือเพื่อนที่เก่งกว่าเราในด้านอื่น ๆ หรือการแตกแขนงงานในส่วนที่เกี่ยวข้อง ที่ช่วยตอบคำถามให้กับงานวิจัยเราได้ ส่งผลสำคัญต่อการยกระดับคุณภาพของงานวิจัย
  • “Connection” การทำความรู้จัก และการรักษาเพื่อนที่ดีไว้ เป็นสิ่งสำคัญ และจะเป็นจุดเริ่มต้นของ collaboration ที่แข็งแรงต่อไป เราต้องเป็นผู้ที่รู้จักการ “ให้” กับผู้อื่นก่อน อย่าเป็นแต่ผู้รับเพียงอย่างเดียว
  • “Honest” ความซื่อสัตย์ ต่อตนเอง และต่อผู้อื่น ไม่ make ผลการทดลอง ทำได้คือได้ ทำไม่ได้คือไม่ได้ จริยธรรมเป็นสิ่งสำคัญ
  • “Basic knowledge to Utilization” งานวิจัยที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ คือเป้าหมายที่นักวิจัยอยากทำได้ โดยสิ่งนี้จะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยองค์ความรู้พื้นฐานที่มีมากเพียงพอ ดังนั้นในช่วงเริ่มต้นของการเป็นนักวิจัยจึงควรให้ความสำคัญกับการสร้างองค์ความรู้ใหม่ และสั่งสม basic knowledge เพื่อใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อไป
  • “Research questions” เป็นจุดเริ่มต้นของการที่จะทำให้เราได้ผลการทดลอง และผลงานตีพิมพ์ที่ดี “วัตถุดิบที่ดี จะทำให้ได้อาหารที่อร่อย”
  • “Finding Gap” โจทย์วิจัยอาจมาจากการทำ Literatures review, การคุยกับคนอื่นทั้งใน field และนอก field แล้วหา Gap / pain point เพื่อนำมาสร้างเป็นโจทย์วิจัย
  • “Local to Global” เป็นอีกแนวทางหนึ่งในการสร้างโจทย์วิจัยที่น่าสนใจ เช่น การนำ traditional product หรือ traditional process มาค้นหาองค์ความรู้ที่ซ่อนอยู่เบื้องหลัง แล้วปรับปรุง product หรือ process นั้นให้ดีขึ้นกว่าเดิม สิ่งเหล่านี้คือ new finding
  • “New finding” การบอกให้ผู้อ่านทราบว่าองค์ความรู้ใหม่ หรือสิ่งที่ไม่เหมือนคนอื่นที่เราเจอจากงานวิจัยนี้คืออะไร จะเป็นจุดที่ทำให้ผลงานวิจัยเราได้รับการ accept เพื่อตีพิมพ์
  • ทุกส่วนของการเขียน manuscript มีความสำคัญทั้งสิ้น

– “Title & Abstract” จะเป็นสิ่งที่ Editor ใช้ในการประเมินเป็นอันดับแรกก่อนที่จะส่งให้ Reviewers การเขียน title ที่ดีควรใส่ key words ในสิ่งที่เราค้นพบใหม่ของงานวิจัย

– “Introduction” คือ landscape ของงานวิจัย What is known / What is unknown / How does it important / fill what gap? / what is the objective

– “M&M” สามารถเขียนส่วนนี้ได้เลย แต่อย่าเขียนส่วนนี้แบบ Copy & Paste บางวารสารมีการกำหนด similarity (plagiarism) โดยอนุญาตได้เพียง 20-40% แล้วแต่วารสาร ต้องตรวจสอบให้ดี

– “Result & Discussion” การเขียนส่วนนี้ต้องสื่อประเด็นสำคัญที่ได้จากผลการทดลองว่าคืออะไร ไม่ใช่การเขียนอธิบายกราฟแค่ว่ามันสูงขึ้น หรือลดลง แต่ควรเขียนในลักษณะที่ตอบว่าการสูงขึ้นหรือลดลงนี้มันบอกอะไรกับเรา หรือมัน imply ว่าอะไร อย่าเขียนยืดยาว ให้พยายาม “hit to the point” พยายาม propose สิ่งใหม่ หรือสิ่งที่แตกต่างจากงานที่เคยมีมา เราสามารถเริ่มต้นเขียนจากส่วน result & discussion ได้ก่อนที่จะเขียน introduction เพื่อให้เราเห็นว่าผลการทดลองของเราค้นพบอะไรใหม่ หรือไป fill gap อะไร เพื่อนำมาใช้เขียน introduction ให้น่าสนใจ

  • การเลือก Journal หรือวารสารที่จะตีพิมพ์ ให้อ่าน Scope ของวารสารนั้น ๆ ให้ดี ดูที่คุณภาพของวารสาร ตอนนี้ส่วนใหญ่ดูจาก Quartile ของวารสาร การลงใน open access มีโอกาสที่จะได้ citation เพิ่มมากขึ้น
  • ถ้า Editor หรือระเบียบวิธีการของวารสาร เค้าให้ทำหรือปฏิบัติอย่างไร ให้ทำตามนั้น อย่าดื้อกับ Editor นะจ๊ะ

ข้อคิดประจำห้อง Lab รศ. ดร.จิรวัฒน์ ยงสวัสดิกุล :

“I haven’t failed, I’ve found 10,000 ways that don’t work” (Thomas Alva Edison)

ข้อคิดประจำห้อง Lab รศ. ดร.รังสรรค์ พาลพ่าย :

ความสำเร็จ รอผู้ที่มีความพยายาม ผู้ที่ทำงานหนัก และผู้ที่อดทนต่อความยากลำบากในการทดลอง ความล้มเหลว รอผู้ที่ไม่มีความพยายาม ผู้ที่ขี้เกียจ และผู้ที่ไม่อดทนต่อความลำบากในการทดลอ หนทางไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบตลอดไป ดอกกุหลาบ จะไหลมาเทมา ในวันที่เราประสบความสำเร็จ”

X