เกี่ยวกับสาขา

เกี่ยวกับสาขา

เกี่ยวกับสาขา

         มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี  เป็นมหาวิทยาลัยที่  เน้นให้การศึกษาวิชาการและวิชาชีพชั้นสูงทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ในสาขาวิชาที่ขาดแคลนและมีความต้องการกำลังคนสูง รวมทั้งวิทยาการและเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่สอดคล้องสนองตอบต่อความต้องการและสภาพสังคมไทยในอนาคต  นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยยังเน้นบทบาททางด้านการปรับแปลง ถ่ายทอดและพัฒนาเทคโนโลยี รวมทั้งการวิจัยและพัฒนาในเรื่องที่จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศอีกด้วย

       จากผลกระทบของ  ปัญหาสิ่งแวดล้อมในทุกระดับที่นับวันจะทวีความรุนแรงขึ้น เรื่อย ๆ  และความต้องการบุคคลากรในสาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี   จึงได้เปิดสอนหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
ในปี พ.ศ. 2536 พร้อมกับการรับนักศึกษารุ่นแรกของมหาวิทยาลัย  

        โดยมีวัตถุประสงค์  เพื่อผลิตวิศวกรสิ่งแวดล้อมออกไปทำหน้าที่ออกแบบ วางแผน และควบคุมการดำเนินการในการป้องกัน และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ทั้งทางน้ำ อากาศ เสียง และขยะมูลฝอย รวมทั้งกากของเสียที่มีพิษต่าง ๆ จากอุตสาหกรรม  โดยหลักสูตรวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมเป็นหลักสูตรวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมที่ได้รับการรับรองจากสภาวิศวกรเพื่อให้มีการพัฒนากำลังคนความรู้ความสามารถและทักษะในการวิเคราะห์วิจัยขั้นสูง  โดยเฉพาะด้านกระบวนการผลิตอุตสาหกรรม ควบคู่ไปกับการจัดการสิ่งแวดล้อม ความเชื่อมโยงระหว่างอุตสาหกรรม และการพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม  

       สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ จึงได้เปิดหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต  หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต และหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม  

      ปัจจุบันสาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม มีหลักสูตรที่เปิดสอน 3 หลักสูตร  ได้แก่

      1.  หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
      2.  หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาวิชาวิศวกรรมระบบอุตสาหกรรมและสิ่งแวดล้อม
      3.  หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต  สาขาวิชาวิศวกรรมระบบอุตสาหกรรมและสิ่งแวดล้อม

 ลักษณะวิชาชีพ
       วิศวกรรมสิ่งแวดล้อมเป็นวิชาชีพทีเกี่ยวกับการนำความรู้ทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในด้านสุขาภิบาลและการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม  เพื่อสุขภาพอนามัยและคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน วิศวกรรมสิ่งแวดล้อมทำงานเกี่ยวข้องกับการออกแบบและควบคุมระบบผลิตน้ำอุปโภคบริโภค ระบบสุขาภิบาลในอาคาร ระบบรวบรวมน้ำเสีย ระบบการป้องกันและระบบมลพิษทางน้ำ อากาศ เสียง และขยะมูลฝอย ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม และการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม
       มุ่งเน้นที่การศึกษาค้นคว้าวิจัยพัฒนาทางวิศวกรรมและเทคโนโลยีที่จะใช้ป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมด้านต่าง ๆ ซึ่งสามารถนำไปใช้งานและปฏิบัติได้จริง

บัณทิตที่จบการศึกษาจากหลักสูตรนี้ สามารถยื่น …
ขอ ใบประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม (กว.) สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม 
(ได้รับการรับรองหลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต สาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565) 
จากสภาวิศวกร ตั้งแต่วันที่ 14 พฤศจิกายน 2565) 
และสามารถเข้าสอบเพื่อเป็น ผู้ควบคุมระบบมลพิษน้ำ อากาศ และกากอุตสาหกรรม ได้

แนวทางการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้จบการศึกษา
     1.  การออกแบบระบบสุขาภิบาลในอาคารและระบบรวบรวมน้ำเสีย

     2.  การออกแบบและควบคุมระบบผลิตน้ำอุปโภคและบริโภค ระบบบำบัดน้ำเสีย
     3.  ระบบควบคุมมลพิษอากาศและเสียง และระบบการจัดการจัดการขยะมูลฝอย
     4.  การวางแผนการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม
     5.  การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม
     6.  บริษัทวิศวกรที่ปรึกษาที่ให้บริการในงานวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
     7.  บริษัทเอกชนที่ทำงานด้านระบบบำบัดมลพิษ/ กำจัดขยะ
     8.  โรงงานอุตสาหกรรม
     9.  งานราชการ ได้แก่ สถาบันการศึกษา/ วิจัย สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม กรมณโรงงานอุตสาหกรรม และ กรมควบคุมมลพิษ    
         เป็นต้น

ลักษณะเด่นของวิชาชีพ
     1.  มีงานวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมหลายประเภทที่ผู้หญิงมีโอกาสได้งานสูงกว่าหรือเทียบเท่าผู้ชาย

     2.  เป็นวิศวกรรมสาขาเดียวที่มีการเรียนการสอนด้านชีววิทยา
     3.  ได้ทำงานใกล้ชิดกับธรรมชาติและชุมชน
     4.  ได้เรียนรู้กว้างขวางในหลายสาขา เช่น Biogas/Biomass Global Warming/Carbon Cycle Assessment (LCA) เป็นต้น
     5.  งานวิจัย Researchs
          งานวิจัยของสาขาวิชาฯ มีความหลากหลายตามความเชี่ยวชาญของคณาจารย์แต่ละท่าน โดยกลุ่มหัวข้องานวิจัยในปัจจุบันประกอบด้วย
          5.1  การบำบัดน้ำเสียด้วยระบบไร้อากาศ
          5.2  การบำบัดน้ำเสียด้ยระบบพื้นที่ระบบพื้นที่ชุ่มน้ำประดิษฐ์
          5.3  การพัฒนาแบบจำลองเชิงสถิติด้านคุณภาพอากาศ
          5.4  การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสะอาดในอุตสาหกรรม
          5.5  การประเมินวงจรชีวิต
          5.6  การพัฒนาวัสดุดูดซับเสียงจากวัสดุเหลือใช้
          5.7  การใช้วัสดุนาโนเพื่อสิ่งแวดล้อม
     6.  กลุ่มงานวิจัยทางด้านคุณภาพอากาศ
     7.  กลุ่มงานการใช้วัสดุนาโน เพื่อสิ่งแวดล้อม
     8.  กลุ่มงานวิจัยทางด้าน Biogas และการประเมินวงจรชีวิต
     9.  กลุ่มงานเทคโนโลยีการบำบัดน้ำเสียแบบไม่ใช้ออกซิเจน และระบบใช้ออกซิเจน
   10.  กลุ่มงานวิจัยพื้นที่ชุ่มน้ำประดิษฐ์

X