ระดับปริญญาโท

ระดับปริญญาโท

สาขาวิชา            ภูมิสารสนเทศ

หลักสูตร             วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

คุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์สมัคร

  1. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาขั้นปริญญาตรีหรือเทียบเท่าจากสถาบันอุดมศึกษาที่มหาวิทยาลัยรับรองหรือมีหลักฐานรับรองว่าจะสำเร็จการศึกษาขั้นปริญญาตรี หรือเทียบเท่าจากสถาบันอุดมศึกษาที่มหาวิทยาลัยรับรอง และต้องมีคุณสมบัติอื่นตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด
  2. แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.50 หรือเทียบเท่า
  3. หากไม่เป็นไปตามข้อ2 ต้องมีแต้มระดับคะแนนเฉลี่ยในวิชาเอกของหลักสูตรปริญญาโทที่จะเข้าศึกษาไม่ต่ำกว่า 2.75 หรือเทียบเท่า หรือมีประสบการณ์การทำงานในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่จะเข้าศึกษา โดยมีหนังสือรับรองจากหน่วยงานหรือจากผู้บังคับบัญชาว่ามีศักยภาพที่จะศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาได้
  4. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีทางวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ภูมิสารสนเทศศาสตร์ หรือสาขาวิชาอื่นโดยความเห็นชอบจากสาขาวิชา
  5. มีคุณสมบัติอื่นตามที่สาขาวิชากำหนดในประกาศรับสมัครนักศึกษาของแต่ละระดับการศึกษา

 

เอกสาร/รายละเอียดที่สาขาวิชาต้องใช้ในการพิจารณาคัดเลือก

  1. หลักฐานแสดงผลการศึกษา (Transcript) ในระดับปริญญาตรี
  2. หนังสือรับรอง (Recommendation) จากอาจารย์ที่ปรึกษาอาจารย์ผู้สอนหรือผู้บังคับบัญชาจำนวน 1 ฉบับ
  3. รายละเอียดเกี่ยวกับประสบการณ์และประวัติการทำงานที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศหรือระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์และหนังสือรับรองประสบการณ์การทำงานจากผู้บังคับบัญชา (สำหรับผู้ที่ใช้ประสบการณ์การทำงานในการสมัคร)
  4. โครงร่างงานวิจัยที่คาดว่าจะทำเป็นวิทยานิพนธ์ (สำหรับผู้สมัครในแผน ก แบบ ก 1ซึ่งเน้นการวิจัยเพื่อทำวิทยานิพนธ์เพียงอย่างเดียว)

 

วิธีการคัดเลือก

คัดเลือกโดยคณะกรรมการคัดเลือกนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาโดยพิจารณาจากผลการศึกษาตามวุฒิการศึกษาที่ใช้สมัครความรู้พื้นฐานและประสบการณ์การทำงานหนังสือรับรองและผลการสอบสัมภาษณ์ (หรือสอบข้อเขียน)

 

แผนการศึกษา

การเรียนการสอนตามแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลัก คือการศึกษารายวิชาและการทำวิทยานิพนธ์(หรือการค้นคว้าอิสระ) โดยการศึกษารายวิชาแยกเป็น 3 หมวด คือ 1. หมวดวิชาแกน 2. หมวดวิชาเลือก และ 3. หมวดวิชาสัมมนา โดยการเลือกรายวิชาเพื่อศึกษาในแต่ละภาคการศึกษา ให้เป็นไปตามดุลพินิจร่วมกันของนักศึกษาและอาจารย์ที่ปรึกษาอิงตามโครงสร้างหลักสูตร รายวิชาที่แสดงไว้ในตัวหลักสูตรของแต่ละหมวดวิชา  และแผนการศึกษาของนักศึกษาที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ (ตารางที่ 1)   

                        แผน ก แบบ ก 1: เป็นแผนการศึกษาที่มุ่งเน้นการวิจัยเพื่อเป็นวิทยานิพนธ์ ซึ่งมีค่าเทียบได้ไม่น้อยกว่า 45 หน่วยกิต โดยไม่ต้องมีการศึกษารายวิชา แต่ทั้งนี้สาขาวิชาอาจกำหนดให้ต้องเรียนรายวิชาหรือทำกิจกรรมทางวิชาการอื่นโดยไม่นับหน่วยกิตด้วยก็ได้โดยต้องมีผลสัมฤทธิ์ตามเกณฑ์ที่กำหนด สำหรับรายวิชาที่กำหนดให้ศึกษาในขั้นต้นคือ วิชาสัมมนาระดับปริญญาโท 1 และ 2

แผน ก แบบ ก 2: เป็นแผนการศึกษาที่มุ่งเน้นการวิจัยเพื่อเป็นวิทยานิพนธ์ ซึ่งมีค่าเทียบได้ไม่น้อยกว่า 15 หน่วยกิตและการศึกษารายวิชาไม่น้อยกว่า 32 หน่วยกิต (รวมวิชาสัมมนาระดับปริญญาโท 1 และ 2) โดยมีจำนวนหน่วยกิตรวมทั้งหมดไม่น้อยกว่า 47 หน่วยกิต

แผน ข: เป็นแผนการศึกษาที่มุ่งเน้นการศึกษารายวิชา โดยไม่ต้องทำวิทยานิพนธ์ โดยเนื้อหาหลักสูตรประกอบด้วยการศึกษารายวิชาไม่น้อยกว่า 40 หน่วยกิต (รวมวิชาสัมมนาระดับปริญญาโท 1 และ 2) และการค้นคว้าอิสระซึ่งมีค่าเทียบได้ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต โดยมีจำนวนหน่วยกิตรวมทั้งหมดไม่น้อยกว่า 46 หน่วยกิต

ตารางที่ 1 โครงสร้างหน่วยกิตการศึกษาของหลักสูตรในแต่ละแผนการศึกษา แยกตามหมวดวิชาที่กำหนด

 

หลักสูตร

แผนการศึกษา

วิชาแกนวิชาเลือกตามกลุ่ม

ไม่น้อยกว่า

วิชาสัมมนา

จำนวน

วิทยานิพนธ์/การค้นคว้าอิสระ

ไม่น้อยกว่า

หน่วยกิตรวม

ไม่น้อยกว่า

กลุ่มที่ 1กลุ่มที่ 2กลุ่มที่ 3
แผน ก แบบ ก 1

แผน ก แบบ ก 2

แผน ข

16

16

6

8

6

8

2

6

2(1)

2

2

45

15

6(2)

45

47

46

 

หมายเหตุ: (1) เป็นรายวิชาเรียนแบบไม่นับหน่วยกิต/(2) เป็นหน่วยกิตของการค้นคว้าอิสระ (ปริญญาโทแผน ข)

 

ติดต่อขอทราบรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

สาขาวิชาภูมิสารสนเทศ

โทรศัพท์:   0-4422-4652

โทรสาร  :   0-4422-4185

อีเมลล์   :    rs224652@gmail.com

 

เว็บไซต์ของสาขาวิชา : https://beta.sut.ac.th/is-geoinformatics

 

เว็บไซต์ของศูนย์บริการการศึกษา : http://sutgateway.sut.ac.th/admissions/

X