หลักสูตรวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต
สาขาวิชาภูมิสารสนเทศ (หลักสูตรนานาชาติ)
(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2561)
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
สานักวิชาวิทยาศาสตร์/สาขาวิชาภูมิสารสนเทศ
หมวดที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
1. รหัสและชื่อหลักสูตร
ชื่อภาษาไทย วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภูมิสารสนเทศ
(หลักสูตรนานาชาติ)
ชื่อภาษาอังกฤษ Doctor of Philosophy Program in Geoinformatics
(International Program)
2. ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ภูมิสารสนเทศ)
(ภาษาอังกฤษ) Doctor of Philosophy (Geoinformatics)
ชื่อย่อ (ภาษาไทย) วท.ด. (ภูมิสารสนเทศ)
(ภาษาอังกฤษ) Ph.D. (Geoinformatics)
3. วิชาเอก
ภูมิสารสนเทศ (Geoinformatics)
4. จานวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
4.1 แบบ 1 แบบ 1.1 การวิจัยเพื่อทาวิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 60 หน่วยกิต โดยไม่ต้องมีการศึกษา
รายวิชา (เว้นแต่หลักสูตรกาหนดให้ต้องศึกษาบางรายวิชาโดยไม่นับหน่วยกิต)
4.2 แบบ 2 แบบ 2.1 การศึกษารายวิชาและการวิจัยเพื่อทาวิทยานิพนธ์ ผู้เข้าศึกษาจะต้อง
ลงทะเบียนเรียนรายวิชาและวิทยานิพนธ์รวมกันไม่น้อยกว่า 65 หน่วยกิต
4.3 แบบ 2 แบบ 2.2 การศึกษารายวิชาและการวิจัยเพื่อทาวิทยานิพนธ์ ผู้เข้าศึกษาจะต้อง
ลงทะเบียนเรียนรายวิชาและวิทยานิพนธ์รวมกันไม่น้อยกว่า 92 หน่วยกิต (สาหรับผู้เข้าศึกษาที่สาเร็จ
การศึกษาระดับปริญญาตรี)
5. รูปแบบของหลักสูตร
เป็นหลักสูตรระดับปริญญาเอกแบบนานาชาติ ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ. 2552 เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2558 ของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) และ
ข้อบังคับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีว่าด้วยการศึกษาขั้นบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2560 โดยมีแผนการศึกษาดังนี้
– แบบ 1 แบบ 1.1 หลักสูตร 3 ปี (ระยะเวลาการศึกษาไม่เกิน 18 ภาคการศึกษา)
– แบบ 2 แบบ 2.1 หลักสูตร 3 ปี (ระยะเวลาการศึกษาไม่เกิน 18 ภาคการศึกษา)
– แบบ 2 แบบ 2.2 หลักสูตร 5 ปี (ระยะเวลาการศึกษาไม่เกิน 24 ภาคการศึกษา)
5.2 ภาษาที่ใช้
ภาษาอังกฤษ
5.3 การรับเข้าศึกษา
รับทั้งนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติ ตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ว่าด้วย
การศึกษาขั้นบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2560 (ภาคผนวก ก) และประกาศมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีที่เกี่ยวข้อง
5.4 ความร่วมมือกับสถาบันอื่น
เป็นหลักสูตรเฉพาะของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
5.5 การให้ปริญญาแก่ผู้สาเร็จการศึกษา
ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว
6. สถานภาพของหลักสูตรและการพิจารณาอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตร
เป็นหลักสูตรที่ปรับปรุงจากหลักสูตรวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาภูมิสารสนเทศ (ฉบับปรับปรุง)
พ.ศ. 2555 เพื่อให้มีผลบังคับใช้ในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2561
– สภาวิชาการฯ ให้ความเห็นชอบหลักสูตรในการประชุม ครั้งที่ 5 เมื่อ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2561
– สภามหาวิทยาลัยฯ อนุมัติหลักสูตรในการประชุม ครั้งที่ 3 เมื่อ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2561
7. ความพร้อมในการเผยแพร่หลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐาน
หลักสูตรมีความพร้อมในการเผยแพร่คุณภาพและมาตรฐานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา
แห่งชาติ ภายในปีการศึกษา 2563
8. อาชีพที่สามารถประกอบอาชีพได้หลังสาเร็จการศึกษา
8.1. นักวิชาการและนักวิชาชีพทุกแขนง ที่ต้องใช้วิทยาการภูมิสารสนเทศ (Geoinformatics Science)
โดยเฉพาะทางการสารวจจากระยะไกล (Remote Sensing) และทางระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
(GIS) ในการปฏิบัติงานของตนหรือหน่วยงานที่สังกัด เช่น การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อม การวิเคราะห์และวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดิน การวางระบบการคมนาคมขนส่ง
การวางแผนภูมิภาค การบริหารจัดการเมืองและสภาพแวดล้อมเขตเมือง การพัฒนาท้องถิ่นและ
ชนบท การสาธารณสุข หรือ การบรรเทาและป้องกันภัยพิบัติรุนแรง เป็นต้น
8.2. อาจารย์ผู้สอนหรือผู้เชี่ยวชาญทางภูมิสารสนเทศขั้นสูงในสถาบันการศึกษาระดับมัธยมศึกษา
อาชีวศึกษา และอุดมศึกษา ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ
8.3. นักวิจัย พนักงาน เจ้าหน้าที่ หรือผู้เชี่ยวชาญทางภูมิสารสนเทศขั้นสูง ประจาหน่วยงานทั้งภาครัฐ
ภาคเอกชน และภาคประชาชน ตลอดจนการประกอบอาชีพอิสระด้านต่าง ๆ ทางภูมิสารสนเทศ
หรือศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ดาวน์โหลด หลักสูตรระดับ ป.เอก-ภูมิสารสนเทศ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2561)