การรับสมัคร http://sutgateway.sut.ac.th/admissions/
บัณฑิตศึกษา
ชื่อหลักสูตรระดับดุษฎีบัณฑิต
วิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกลและระบบกระบวนการ
Doctor of Philosophy Program in Mechanical and Process System Engineering
ชื่อปริญญาระดับปริญญาเอก
ภาษาไทย
(ชื่อเต็ม) วิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต (วิศวกรรมเครื่องกลและระบบกระบวนการ)
(ชื่อย่อ) วศ. ด. (วิศวกรรมเครื่องกลและระบบกระบวนการ)
ภาษาอังกฤษ
(ชื่อเต็ม) Doctor of Philosophy (Mechanical and Process System Engineering)
(ชื่อย่อ) Ph. D. (Mechanical and Process System Engineering)
วิชาเอก
หลักสูตรนี้เป็นหลักสูตรสหวิทยาการ เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ในลักษณะของการบูรณาการ
ซึ่งรวบรวมความเป็นเลิศในองค์ความรู้ของสาขาวิชาวิศวกรรมหลักดังต่อไปนี้
สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี
สาขาวิชาวิศวกรรมเกษตร
สาขาวิชาวิศวกรรมการผลิต
จำนวนหน่วยกิตรวม
ระดับปริญญาเอก
แบบ 1: การวิจัยเพื่อทำวิทยานิพนธ์
แบบ 1.1: ผู้เข้าศึกษาที่จบการศึกษาขั้นปริญญาโท
- จำนวนหน่วยกิต ไม่น้อยกว่า 60 หน่วยกิต
แบบ 2: การศึกษารายวิชาและการวิจัยเพื่อทำวิทยานิพนธ์
แบบ 2.1 ผู้เข้าศึกษาที่จบการศึกษาขั้นปริญญาโท
- วิชาบังคับ ไม่มี
- วิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 15 หน่วยกิต
- วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต ไม่น้อยกว่า 45 หน่วยกิต
แบบ 2.2 ผู้เข้าศึกษาที่จบการศึกษาขั้นปริญญาตรี (เกียรตินิยม)
- วิชาบังคับ ไม่น้อยกว่า 4 หน่วยกิต
- วิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต
- วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต ไม่น้อยกว่า 60 หน่วยกิต
อาชีพที่สามารถประกอบอาชีพได้หลังสำเร็จการศึกษา
- วิศวกรทางด้านเครื่องกล
- วิศวกรทางด้านเครื่องจักรกลเกษตรและอาหาร
- วิศวกรเคมี
- วิศวกรควบคุมกระบวนการผลิต
- วิศวกรออกแบบกระบวนการผลิต
- วิศวกรออกแบบผลิตภัณฑ์
- วิศวกรตรวจสอบระบบการผลิต
- อาจารย์ นักวิชาการ หรือนักวิจัย
- วิศวกรด้านการขาย
- นักวิเคราะห์โครงการ
- ประกอบธุรกิจส่วนตัว
- วิศวกรการเกษตร และวิศวกรอาหาร
- วิศวกรโรงงาน
- วิศวกรออกแบบและพัฒนาเครื่องจักรกลการเกษตร/กระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมเกษตร
- นักวิจัยงานวิศวกรรมเกษตรและอาหาร/การผลิตในอุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร
- ผู้ตรวจสอบระบบการผลิตในอุตสาหกรรมอาหาร
- นักการตลาดด้านอุปกรณ์/เครื่องจักรกลการเกษตรและอาหาร