วัตถุประสงค์

วัตถุประสงค์

ในรอบทศวรรษที่ผ่านมา การผลิตในภาคเกษตรกรรมของประเทศไทยได้มีการนำเทคโนโลยีการผลิตมาใช้เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันซึ่งตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554) ได้กำหนดแนวทางการบริหารจัดการต้นทุนทางเศรษฐกิจ โดยเน้นการปรับโครงสร้างการผลิตให้มีประสิทธิภาพการผลิต และการเพิ่มมูลคุณค่าของสินค้าเกษตรให้สูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคเกษตรกรรมที่ต้องเร่งดำเนินการปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตรให้ประเทศไทยมีความมั่นคงและความปลอดภัยด้านอาหาร (Food security and food safety) ซึ่งจำเป็นต้องใช้บุคลากร วิศวกรด้านนี้เป็นอย่างมาก

สาขาวิชาวิศวกรรมเกษตร สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ดำเนินการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาวิศวกรรมเกษตร ในช่วงปี 2539-2549 ซึ่งปรัชญาของสาขาหลักสูตรดังกล่าวคือ นำเอาศาสตร์ทางด้านวิศวกรรมมาประยุกต์ใช้ในการผลิตทางการเกษตร เพื่อการพัฒนาอย่างถาวรโดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำเทคโนโลยีทางการเกษตรมาใช้ในการผลิตให้มีประสิทธิผล ตั้งแต่ระดับไร่นาจนถึงอุตสาหกรรมเกษตรขนาดใหญ่ หรือแม้กระทั่งการจัดการทรัพยากรดินและน้ำ เพื่อการเกษตรอย่างถูกวิธีและยั่งยืน ตลอดจนการก่อสร้างอาคารทางการเกษตร และระบบสาธารณูปโภคในชนบท

ซึ่งเนื้อหารายวิชาในหลักสูตรดังกล่าวนั้นเน้นเฉพาะการผลิตหรือการแปรรูปวัตถุดิบทางการเกษตร จึงยังไม่เพียงพอสำหรับการพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารซึ่งจะต้องมีการนำวัตถุดิบทางการเกษตร มาแปรรูปเป็นอาหารอีกกระบวนการหนึ่ง ดังนั้นสาขาวิชาวิศวกรรมเกษตรจึงได้พัฒนาหลักสูตรขึ้นใหม่คือ หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเกษตรและอาหาร เพื่อให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และรองรับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการเกษตรที่จะเกิดขึ้น ตั้งแต่ระดับไร่นาจนถึงโต๊ะอาหาร ให้มีความมั่นคงและความปลอดภัย

สาขาวิชาวิศวกรรมเกษตร สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ดำเนินการจัดการเรียนการสอน ในหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเกษตร ในช่วงปี 2539 – 2549 ซึ่งปรัชญาของหลักสูตรสาขาวิชาวิศวกรรมเกษตรดังกล่าวคือ นำเอาศาสตร์ทางด้านวิศวกรรมมาประยุกต์ใช้ในการผลิตทางการเกษตรเพื่อการพัฒนาอย่างถาวร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการผลิตให้มีประสิทธิผล ตั้งแต่ระดับไร่นาจนถึงอุตสาหกรรมเกษตรขนาดใหญ่ หรือแม้กระทั่งการจัดการทรัพยากรดินและน้ำเพื่อการเกษตรอย่างถูกวิธีและยั่งยืน (Sustainable) ตลอดจนการก่อสร้างอาคารทางการเกษตรและระบบสาธารณูปโภคในชนบท

X