วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
#เพจหลักสูตรปกติ
>>วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และระบบสมองกลฝังตัว<<
#เพจหลักสูตรนอกเวลา
>>วิศวกรรมระบบสมองกลอัจฉริยะและอิเล็กทรอนิกส์ความถี่สูง<<
โบรชัวร์ (Brochure) สำหรับสาขาอิเล็กทรอนิกส์ คลิกที่นี่!!
“Downlode Free”
ความมุ่งเน้นของหลักสูตร
ผลิตบัณฑิตและสร้างกำลังคนที่มีสมรรถนะสูงด้านอิเล็กทรอนิกส์สมัยใหม่ให้รู้ลึกรู้จริงในศาสตร์ทางด้านวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ การออกแบบวงจรความถี่สูง ระบบสมองกลอัจฉริยะ ปัญญาประดิษฐ์แบบฝังตัว และอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งสำหรับอุตสาหกรรม โดยเน้นผลลัพธ์ที่เป็นทักษะความรู้แบบบูรณาการที่สามารถนำไปทำงานได้จริง ตอบโจทย์ภาคอุตสาหกรรมและตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานในยุคอุตสาหกรรม 4.0 เพื่ออนาคตที่ยั่งยืนของประเทศ
“ที่ไหนมีอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี ที่นั่นต้องมีอิเล็กทรอนิกส์และระบบสมองกลฝังตัวอัจฉริยะ”
แบบสอบถาม
ร่วมตอบแบบสอบถามความพึงพอใจในการใช้บัณฑิต สาขาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์
คลิกที่นี่
วิดีโอแนะนำสาขา
หลักสูตรที่เปิดสอน
ปริญญาตรี
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562)
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และระบบสมองกลฝังตัว (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565)
ปริญญาโท
1. หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2558)
2. หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2563)
ปริญญาเอก
1. หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2558)
2. หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2563)
ห้องปฏิบัติการ
PCB Process and Fabrication (กระบวนการผลิตและประกอบแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ในระบบอุตสาหกรรม)
PCB Prototype 3D Printing
แนวทางการประกอบอาชีพ
วิศวกรอิเล็กทรอนิกส์สามารถประกอบอาชีพได้อย่างกว้างขวางทุกภาคส่วนของประเทศในตำแหน่ง วิศวกรอิเล็กทรอนิกส์ วิศวกรโรงงาน วิศวกรที่ปรึกษา วิศวกรโครงการ วิศวกรออกแบบ เป็นต้น ซึ่งมีตัวอย่างแบ่งตามกิจกรรมองค์กรดังนี้
(1) ภาคอุตสาหกรรมและธุรกิจการค้า โดยที่โรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่เกือบทุกประเภทต้องมีวิศวกรอิเล็กทรอนิกส์เพื่อคอยตรวจสอบและซ่อมบำรุงอุปกรณ์ นอกจากนี้ ยังสามารถประกอบอาชีพในธุรกิจที่ออกแบบและสร้างวงจรอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างกว้างขวาง อาทิเช่น บริษัท ซีเกท เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท เบนช์มาร์คอิเลคทรอนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) บริษัท แม็กซิม อินทริเกรดเต็ด โปรดักส์ (ประเทศไทย) และ บริษัท ซิเลซติกา (ประเทศไทย) จำกัด เป็นต้น
(2) ภาคราชการ ได้แก่ การเป็นอาจารย์ในสถาบันการศึกษาของรัฐต่าง ๆ ตลอดจนเป็นวิศวกรประจำกองงานในสังกัดกระทรวงต่าง ๆ อาทิ สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ กรมการช่างอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
(3) ภาคงานวิจัย ซึ่งเป็นนักวิจัยให้กับหน่วยงาน หรือองค์กรต่าง ๆ เพื่อสร้างและพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ หรือออกแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์ให้กับหน่วยงานต่าง ๆ เช่น ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ เป็นต้น
ติดต่อเรา
Facebbok : วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี