คู่มือการบริหารการเงินของโครงการวิจัย

คู่มือการบริหารการเงินของโครงการวิจัย

คู่มือการบริหารการเงินของโครงการวิจัย

คู่มือการบริหารการเงินของโครงการวิจัยที่ได้รับการจัดสรรเงินอุดหนุนการวิจัย จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

หลักการ:หัวหน้าโครงการต้องมีความรับผิดชอบที่จะต้องดูแลระบบการเงินและบัญชีของโครงการให้ถูกต้องเรียบร้อย และต้องคอยตรวจสอบการทำงานของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องอยู่เสมอว่าเป็นไปอย่างซื่อสัตย์และตรงไปตรงมา และไม่มีความไม่ชอบมาพากลเกิดขึ้นและต้องพร้อมสำหรับการตรวจสอบโดยไม่กำหนดล่วงหน้าได้เป็นครั้งคราวการใช้จ่ายเงินของโครงการวิจัยจะไม่ใช้กฎระเบียบที่เคร่งครัดตายตัวแต่มอบความไว้วางใจให้หัวหน้า โครงการใช้ดุลยพินิจพิจารณาตามความเหมาะสมหัวหน้าโครงการต้องคอยตรวจสอบรายจ่ายแต่ละหมวดของโครงการ และเปรียบเทียบกับงบประมาณที่ตั้งไว้อยู่เสมอและสอบถามทันทีถ้ามีตัวเลขผิดปกติเกิดขึ้นหรือมีรายจ่ายที่มีแนวโน้มว่า จะเกินงบประมาณ
ที่มาของเงินอุดหนุนการวิจัย
ก.เงินอุดหนุนการวิจัยประจำปีงบประมาณ ได้แก่ เงินที่ได้รับจัดสรรจากมหาวิทยาลัย ในช่วงต้นปีงบประมาณนั้น ๆ
ข.เงินอุดหนุนการวิจัย ประเภทเงินระหว่างปีงบประมาณ ได้แก่
1.เงินที่คงเหลือจากโครงการวิจัยที่ขอยุติโครงการ ประกอบด้วย จำนวนเงินที่ยังไม่ขออนุมัติเบิกจ่าย และจำนวนเงินที่เหลือจากการใช้จ่ายในงวดที่ผ่านมา
2.เงินอุดหนุนการวิจัยที่เหลือจากการทำสัญญาน้อยกว่าจำนวนเงินที่ได้รับจัดสรร
ทั้งนี้ เงินที่ยังไม่ขออนุมัติเบิกจ่าย และเงินที่เหลือจากการใช้จ่ายในงวดที่ผ่านมาให้ถือเป็นเงินที่ได้รับการผูกพันเบิกจ่ายข้ามปี หรือผูกพันกันไว้เบิกเหลื่อมปี ด้วย


1.การบริหารการเงินโครงการวิจัย

การใช้จ่ายเงินควรเป็นไปตามกฎระเบียบของมหาวิทยาลัยเพื่อให้การบริหารเงินทุนวิจัยเป็นไปอย่างคล่องตัวและเอื้อต่อการดำเนินงานวิจัยให้มีประสิทธิภาพและสามารถตรวจสอบได้ โดยมีแนวทางในการบริหารการเงิน ดังนี้
1.1 เงินงบประมาณของโครงการ ให้ฝากในนามของโครงการ และห้ามนำเงินฝากอื่นมาปะปนกับเงินในบัญชี โดยผู้รับทุนจะต้องเปิดบัญชีเงินฝากประเภทออมทรัพย์ไว้กับ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน)สาขาย่อย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
1.2 เอกสาร แบบพิมพ์ ต่าง ๆ ให้เป็นไปตามที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีกำหนด
1.3 การจัดซื้อวัสดุ/ครุภัณฑ์และการจัดจ้างจะทำได้เฉพาะวิธีตกลงราคา และมีการตรวจรับสิ่งของ ตรงตามความต้องการโดยถือหลักประหยัดเป็นผลดีต่อโครงการ โดยครุภัณฑ์ที่เกิดขึ้นถือเป็นทรัพย์สินของมหาวิทยาลัยต่อไป
1.4 การเบิกจ่ายเงินในแต่ละครั้งจะต้องมีหลักฐานครบถ้วนโดยใช้ใบเสร็จรับเงิน หากร้านค้าหรือนิติบุคคลไม่มี ใบเสร็จรับเงินของตนเองให้ใช้ใบสำคัญรับเงิน โดยให้หัวหน้าโครงการลงนามรับรองในใบสำคัญรับเงิน
1.5 การเบิกเงิน ให้มีผู้ร่วมลงนามสั่งจ่ายอย่างน้อย2ใน3โดยหนึ่งในจำนวนดังกล่าวต้องเป็นหัวหน้าโครงการ หรือวิธีการอื่นที่ตกลงกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
1.6 การเดินทางเพื่อปฏิบัติงานวิจัยนอกมหาวิทยาลัย ให้ขออนุมัติต่อต้นสังกัดของหัวหน้าโครงการผู้ที่จะเดินทาง โดยใช้แบบฟอร์มขออนุมัติการปฏิบัติงานนอกสถานที่ของมหาวิทยาลัย ส่วนอัตราค่าใช้จ่ายให้เป็นไปตามเกณฑ์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
การไปปฏิบัติงานวิจัยนอกสถานที่ของผู้ช่วยวิจัยที่ไม่ใช่พนักงานของมหาวิทยาลัย ให้ผู้ช่วยวิจัยดังกล่าวดำเนินการขออนุมัติการไปปฏิบัติงานวิจัยนอกมหาวิทยาลัยต่อหัวหน้าโครงการวิจัยได้โดยตรง เพื่อเป็นหลักฐานการรายงานการไปปฏิบัติงานนอกนอกมหาวิทยาลัยประกอบการเบิกจ่ายเงินต่อไป
1.7 จัดทำบัญชีการเงินและเก็บหลักฐานการเบิกจ่ายให้เรียบร้อยเป็นระบบ และพร้อมที่จะให้ตรวจสอบได้ตลอดเวลา
2.การเปิดบัญชีโครงการ
ผู้รับทุนจะต้องเปิดบัญชีเงินฝากประเภทออมทรัพย์ไว้กับ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน)สาขาย่อย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และควรใช้ชื่อโครงการตามสัญญาเป็นชื่อบัญชีเฉพาะโครงการเท่านั้น และมีผู้มีอำนาจ สั่งจ่ายตามที่ระบุไว้ในสัญญาผู้รับทุนจะต้องสำเนาสมุดบัญชีส่งให้สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เมื่อมีการเปิดและปิดบัญชีโครงการรวมทั้งระหว่างที่มีการส่งรายงานการเงินให้สถาบันวิจัยและพัฒนาเพื่อการขออนุมัติเบิกจ่ายในงวดต่อไปดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นจากบัญชีโครงการจะตกเป็นของผู้ให้ทุน โดยเมื่อสิ้นสุดโครงการแล้วผู้รับทุนจะต้องแจ้งให้ผู้ให้ทุนรับทราบว่าเกิดดอกเบี้ยขึ้นเท่าใด
3.การจ่ายเงิน
การจ่ายเงินตามใบเรียกเก็บเงินหรือใบแจ้งหนี้ เป็นการจ่ายเงินที่สะดวกในด้านการจัดการการเงิน ผู้วิจัยควรสอบถามราคาและรายละเอียดจากผู้ขาย เมื่อเห็นสมควรแล้วก็ตกลงซื้อ โดยให้ผู้ขายนำของมาส่งและนำใบส่งของหรือใบเรียกเก็บเงินหรือใบเสร็จรับเงินมาด้วย การจ่ายเงินจะต้องเรียกใบเสร็จรับเงินจากผู้ขายทันทีพร้อม ๆ กับการจ่ายเงิน อย่ายินยอมให้ผู้ขายรับเงินไปก่อนแล้วส่งใบเสร็จรับเงินมาให้ทีหลัง เพราะมักจะมีปัญหาในการติดตามทวงถาม และหลักฐานการจ่ายเงินจะไม่ครบถ้วน
4. เกณฑ์การใช้จ่ายเงิน
1.การแบ่งรายจ่ายออกเป็นหมวดต่าง ๆ ดังที่จะกล่าวต่อไปนี้ ก็เพื่อความสะดวกในการจัดเก็บหลักฐานการจ่ายเงิน และเพื่อให้เข้าใจตรงกันในเวลาสื่อสารและติดตามการใช้จ่ายเงินของโครงการแต่ไม่ใช่เรื่องร้ายแรงหากมีการลงรายการผิดหมวดโดยไม่เจตนาตราบใดที่มีเอกสารครบถ้วน และชี้แจงได้
2.การบันทึกรายการในโครงการ ให้บันทึกตามรายจ่ายที่เกิดขึ้นจริง แม้ว่ารายการจ่ายจริงที่เกิดขึ้นจะเปลี่ยนแปลงไปจากจำนวนงบประมาณที่ได้กำหนดไว้ในสัญญา ให้หัวหน้าโครงการทำหนังสือชี้แจงเหตุผล และขออนุมัติปรับโอนหมวดงบประมาณต่อ สถาบันวิจัยและพัฒนา(ไม่ควรทำการเปลี่ยนแปลงใบเสร็จไปลงหมวดอื่นหรือหาวิธีการหลีกเลี่ยงอื่นๆ)
4.1หมวดค่าจ้างชั่วคราว
หลักการการเลือกว่าจะจ่ายค่าตอบแทนหรือค่าจ้างให้แก่ผู้ใดในอัตราเท่าใด ในช่วงเวลาใด ให้อยู่ในดุลยพินิจของหัวหน้าโครงการ อัตราค่าจ้างให้ใช้อัตราเริ่มต้นไม่สูงกว่าที่มหาวิทยาลัยระบุไว้ นอกจากผู้ช่วยวิจัยที่มีประสบการณ์ที่ตรงกับงานที่จะทำในโครงการมาแล้ว ให้คิดจำนวนปีที่มีประสบการณ์ในการกำหนดอัตราเงินเริ่มต้นได้ด้วย ถ้าหัวหน้าโครงการเห็นว่าเหมาะสม
ค่าจ้างผู้ช่วยวิจัยโดยปกติจะจ่ายเป็นรายเดือนโดยคิดจากฐานที่มหาวิทยาลัยกำหนด ในช่วงเวลาที่ผู้ช่วยวิจัยนั้นมีงานที่เกี่ยวข้องกับโครงการอยู่ ซึ่งอาจเกิดขึ้นเป็นช่วง ๆ และไม่ตลอดระยะเวลาของโครงการก็ได้(ในบางโครงการมีผู้ช่วยวิจัยหลายสาขา ซึ่งหมุนเวียนกันเข้ามาทำงานกับโครงการเป็นเฉพาะบางช่วงตามแผนงานที่กำหนด)หัวหน้าโครงการ อาจพิจารณาจ่ายค่าจ้างผู้ช่วยวิจัยเป็นงวด ๆ แทนการจ่ายรายเดือนก็ได้ โดยจ่ายตามงานที่เสร็จแต่ละงวด เช่น เมื่อส่งรายงานความก้าวหน้าเฉพาะส่วนของตนแล้ว ทุก3-6เดือน โดยตกลงกับผู้ช่วยวิจัยไว้ก่อนล่วงหน้า
สำหรับค่าจ้างคนงานรายวันให้ใช้ไม่เกินอัตรา ตามประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ทั้งนี้ให้มีผลย้อนหลังทุกโครงการวิจัยที่กำลังดำเนินการอยู่
ค่าจ้างผู้ช่วยวิจัยควรหยุดจ่ายชั่วคราว ถ้าผู้ช่วยวิจัยนั้นไม่อยู่ปฏิบัติงานเป็นเวลาเกินกว่า30วัน เช่นไปอบรมหรือดูงานต่างประเทศ ในเรื่องซึ่งมิได้เกี่ยวข้องกับโครงการโดยตรง หรือไปศึกษาต่อ หรือหยุดปฏิบัติงานในโครงการด้วยเหตุผลใด ๆ ก็ตาม หรือเมื่อผู้ช่วยวิจัยไม่ได้กระทำตามที่ได้ตกลงกันไว้(ไม่มีผลงานและ/หรือไม่มีรายงานความก้าวหน้าที่มีคุณภาพ)การวินิจฉัยว่าควรจะหยุดจ่ายค่าตอบแทนหรือไม่อย่างไรให้อยู่ในดุลยพินิจของหัวหน้าโครงการ และเงินค่าจ้างที่เหลืออยู่สามารถโอนไปใช้จ่ายในหมวดอื่นได้ โดยทำหนังสือถึงสถาบันวิจัยและพัฒนา เพื่อขออนุมัติใช้เงินดังกล่าวพร้อมชี้แจงเหตุผลประกอบ
หมายเหตุ:
1. หมวดค่าจ้างชั่วคราว หากมีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ต้องขออนุมัติจากสถาบันวิจัยและพัฒนาก่อน รวมทั้งไม่ควรมีการโอนย้ายหมวดอื่น ๆ มายังหมวดค่าจ้างชั่วคราว ยกเว้นมีการปรับเปลี่ยนแผนงานวิจัย ซึ่งส่งผลให้มีผู้ร่วมงานเพิ่มขึ้นหรือปริมาณงานเพิ่มขึ้น จึงจะสามารถปรับเพิ่มเงินหมวดค่าจ้างชั่วคราวได้ รวมทั้งหากมีการโอนย้ายข้ามหมวดต้องแจ้งสถาบันวิจัยและพัฒนาก่อนดำเนินการทุกครั้งทั้งนี้ การดำเนินการจะทำได้ภายหลังจากได้รับการอนุมัติจากสถาบันวิจัยและพัฒนาเรียบร้อยแล้ว
2. ในการรับเงินค่าตอบแทนค่าจ้างในโครงการ ห้ามมิให้มีการลงนามรับเงินแทนกัน
หลักฐานสำหรับหมวดค่าจ้างชั่วคราว คือ ใบสำคัญรับเงิน(สัญญาการจ้าง/ใบลงเวลา ถ้ามี)
4.2หมวดค่าตอบแทน ค่าใช้สอยและค่าวัสดุ
4.2.1ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนแตกต่างจากค่าใช้สอย ตรงที่ค่าตอบแทนจะจ่ายโดยใช้ เวลา เป็นฐาน(Time-based)เช่นค่าจ้างธุรการ ส่วนค่าใช้สอยนั้นจ่ายโดยใช้ ชิ้นงาน เป็นฐาน(Task-based)คือเหมาจ่ายเป็นชิ้นงานเมื่อทำเสร็จ โดยคำนึงถึงว่างานนั้นเสร็จเร็วหรือช้ากว่าที่ประมาณการ เช่น ค่าเช่ารถ ค่าจัดทำรายงาน โดยมีหัวหน้าโครงการลงนามตรวจรับงานในใบเสร็จรับเงิน/ใบสำคัญรับเงิน การให้ค่าตอบแทนที่ปรึกษาควรจ่ายเป็น คน-วัน(Man-days)ตามที่ทำงานจริง เช่นเมื่อไปเยี่ยมโครงการหรือมาประชุมร่วมกับโครงการ หรือเมื่อทำงานบางชิ้นให้กับโครงการสำเร็จ โดยใช้อัตราในดุลยพินิจของหัวหน้าโครงการ
หัวหน้าโครงการจะไม่สามารถจ่ายค่าตอบแทนที่ปรึกษาให้กับพนักงานของมหาวิทยาลัยได้ การจ่ายค่าตอบแทนที่ปรึกษาจะจ่ายได้เฉพาะบุคคลภายนอกเท่านั้น และต้องได้รับความเห็นชอบจากมหาวิทยาลัย
หลักฐานสำหรับค่าตอบแทน คือ ใบสำคัญรับเงิน
4.2.2ค่าใช้สอย
หมายถึง ค่าใช้จ่ายเพื่อซื้อบริการต่าง ๆ และค่าใช้จ่ายที่ไม่เข้าลักษณะรายจ่ายหมวดอื่น ๆ เช่น
4.2.2.1ค่าเดินทาง(พาหนะ เบี้ยเลี้ยง ที่พัก)
ค่าพาหนะ ให้เบิกจ่ายได้เท่าที่จ่ายจริง ตามหลักฐานประกอบ เช่น กากตั๋วรถทัวร์ รถไฟ เครื่องบินชั้นประหยัด/ภายในประเทศเท่านั้น(ใช้ใบถ่ายสำเนาแทนไม่ได้)
การเดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัว ให้เบิกเฉพาะค่าน้ำมันที่จ่ายจริงตามใบเสร็จแต่ไม่เกินอัตราค่าน้ำมันรวมค่าสึกหรอที่ มหาวิทยาลัยกำหนด คือ อัตรากิโลเมตรละ3บาท ตามระยะทางของกรมทางหลวง/นอกเหนือจากการคิดอัตราค่าใช้จ่ายกิโลเมตรละ3บาท แล้ว หากมีการเก็บข้อมูลในพื้นที่ให้เบิกเป็นเหมาจ่ายได้ในอัตราวันละ 300บาท
การวินิจฉัยว่าผู้ใดมีสิทธิเดินทางโดยเครื่องบิน รถไฟปรับอากาศ รถยนต์ส่วนตัว ฯลฯ และจะเบิกค่าใช้จ่ายอย่างไรเท่าไร เป็นสิทธิของหัวหน้าโครงการ ภายใต้หลักการโโ‚ฌœประหยัดและจำเป็นโโ‚ฌและภายใต้กรอบงบประมาณที่มีอยู่
ค่าที่พัก เบิกได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินอัตราที่มหาวิทยาลัยกำหนด โดยให้ปฏิบัติตามประกาศมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เรื่องอัตราค่าใช้จ่ายในการเดินทางในประเทศ
ค่าเบี้ยเลี้ยง ให้หัวหน้าโครงการพิจารณาตามความเหมาะสม ว่าเป็นการออกไปปฏิบัติงานนอกเขตจังหวัดและเกินกว่า12ชั่วโมงหรือไม่(เท่ากับ250บาทถ้วน)โดยหัวหน้าโครงการและที่ปรึกษาให้ใช้อัตราวันละ310บาท ในกรณีที่เป็นการไปประชุมสัมมนา ที่มีการจัดเลี้ยงอาหารด้วย แล้วนั้น ไม่สามารถเบิกค่าเบี้ยเลี้ยงได้
4.2.2.2ค่าจ้างในลักษณะที่เป็นงานเหมาต่อชิ้นงาน เช่น ค่าจ้างวิเคราะห์ตัวอย่าง ค่าจ้างทำอุปกรณ์หรือซ่อมแซมอุปกรณ์ ค่าจ้างทำเอกสาร ค่าจ้างเหมาเตรียมดิน ค่าโฆษณาและเผยแพร่ ลงแจ้งความในหนังสือพิมพ์ ค่าจ้างบรรทุกของ ค่าเช่ารถ ค่าเช่าเครื่องถ่ายเอกสาร ฯลฯ
ค่าจ้างเหมาบริการเช่นนี้ ต้องมีผู้ตรวจรับงานก่อนจ่ายเงิน ซึ่งโดยปกติจะเป็นหัวหน้าโครงการลงนามตรวจรับงานในใบเสร็จรับเงินหรือใบสำคัญรับเงิน
4.2.2.3ค่าไปรษณีย์ ค่าโทรศัพท์ (รวมทั้งค่าติดตั้งโทรศัพท์สายตรงของโครงการ) ค่าสาธารณูปโภคอื่น ๆ
4.2.2.4ค่าสมาชิกวารสารวิชาการ ค่าสมาชิกในสมาคมวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง โดยตรงกับงานในโครงการและค่าสมาชิกInternetเป็นต้น
หลักฐานสำหรับค่าใช้สอย คือ ใบเสร็จรับเงิน/ใบสำคัญรับเงิน/แบบรายงานการปฏิบัติงานนอกสถานที่
4.2.3ค่าวัสดุหมายความว่า
1.รายจ่ายเพื่อซื้อ แลกเปลี่ยน จ้างทำ ทำเองหรือกรณีอื่นใด เพื่อให้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในสิ่งของดังต่อไปนี้
1.1 สิ่งของซึ่งโดยสภาพเมื่อใช้แล้วย่อมสิ้นเปลือง หมดไปเอง แปรสภาพหรือไม่คงสภาพเดิมอีกต่อไป หรือ
1.2 สิ่งของที่มีลักษณะคงทนถาวร แต่มีอายุการใช้งานในระยะเวลาประมาณไม่เกิน1ปี หรือ
1.3 สิ่งของที่มีลักษณะคงทนถาวรและมีอายุการใช้งานในระยะเวลาประมาณ 1 ปีขึ้นไป แต่มีราคาหน่วยหนึ่งหรือชุดหนี่งไม่เกิน5,000บาท ยกเว้นสิ่งของตามตัวอย่างสิ่งของที่เป็นครุภัณฑ์ หรือ
1.4 สิ่งของที่ส่วนราชการซื้อมาใช้ในการบำรุงรักษาหรือซ่อมแซมทรัพย์สิน เพื่อให้มีสภาพหรือประสิทธิภาพคงเดิม
2.ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ซึ่งต้องชำระพร้อมกับค่าสิ่งของ เช่นค่าขนส่ง ค่าภาษี ค่าประกัน ค่าติดตั้ง ฯลฯให้เบิกจ่ายในรายจ่ายค่าวัสดุ
เกณฑ์การจัดซื้อ/จัดจ้าง วัสดุ อุปกรณ์ ให้ใช้เกณฑ์ดังต่อไปนี้
1.การจัดซื้อหรือจัดจ้าง ในวงเงินไม่เกิน50,000บาท ให้หัวหน้าโครงการมีอำนาจอนุมัติได้
2.การจัดซื้อหรือจัดจ้าง ในวงเงินเกิน50,000บาท ให้ตั้งคณะกรรมการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง และตรวจรับ ซึ่งประกอบด้วยผู้ร่วมวิจัยในโครงการ ไม่น้อยกว่า3คน ทั้งนี้ สิ่งของหรือบริการที่มีลักษณะเป็นชิ้นเดียวหรืองานเดียว ให้ดำเนินการจัดซื้อ หรือจัดจ้างตามลักษณะนั้น ห้ามมิให้แยกการจัดซื้อหรือจัดจ้างออกเป็นรายการย่อย ๆ เมื่อได้จัดซื้อหรือจัดจ้างสำเร็จเรียบร้อยแล้ว ให้แจ้งผลการจัดซื้อหรือจัดจ้างให้สถาบันวิจัยและพัฒนา ทราบในรายงานความก้าวหน้าของโครงการครั้งต่อไป
หนังสือและวารสาร จัดเป็นวัสดุที่มีอายุการใช้งานยาวนาน ดังนั้น หัวหน้าโครงการที่ได้ดำเนินการจัดซื้อเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เมื่อสิ้นสุดโครงการวิจัยจะต้องส่งคืนสถาบันวิจัยและพัฒนา โดยสถาบันวิจัยและพัฒนาจะนำส่งศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษาเพื่อจัดเป็นฐานข้อมูลสืบค้นต่อไป หรือหากหัวหน้าโครงการประสงค์จะมีไว้เพื่อประโยชน์ในสำนักวิชาให้ทำบันทึกแจ้งผู้ให้ทุนทราบต่อไป
หลักฐานสำหรับค่าวัสดุ คือ ใบเสร็จรับเงิน หรือ บิลเงินสด

ตัวอย่างสิ่งของที่เป็นวัสดุโดยสภาพ

วัสดุสำนักงาน

1.กระดาษ
2.หมึก
3.ดินสอ
4.ปากกา
5.ไม้บรรทัด
6.ยางลบ
7.คลิป
8.เป๊ก
9.เข็มหมุด
10.เทปพีวีใส(สก็อตซ์เทป)
11.กระดาษคาร์บอน
12.กระดาษไข
13.น้ำยาลบกระดาษไข
14.ลวดเย็บกระดาษ
15.กาว
16.แฟ้ม
17.สมุดบัญชี
18.สมุดประวัติข้าราชการ
19.แบบพิมพ์
20.ชอล์ก
21.ผ้าสำลี
22.แปลงลบกระดานดำ
23.ตรายาง
24.ซอง
25.ธงชาติ
26.สิ่งพิมพ์ที่ได้จากการซื้อหรือจ้างพิมพ์
27.ของใช้ในการบรรจุหีบห่อ
28.น้ำมัน ไข ขี้ผึ้ง
29.ขาตั้ง(กระดานดำ)
30.ที่ถูพื้น
31.ตะแกรงวางเอกสาร
32.น้ำดื่ม

วัสดุไฟฟ้าและวิทยุ

1.ฟิวส์
2.เข็มขัดรัดสายไฟฟ้า
3.เทปพันสายไฟฟ้า
4.สายไฟฟ้า
5.ปลั๊กไฟฟ้า
6.สวิตซ์ไฟฟ้า
7.หลอดไฟฟ้า
8.หลอดวิทยุ ทรานซิสเตอร์และชิ้นส่วนวิทยุ
9.ลูกถ้วยสายอากาศ
10.รีซีสเตอร์
11.มูฟวิงคอยส์
12.คอนเดนเซอร์
13.ขาหลอดฟลูออเรสเซนซ์
14.เบรกเกอร์

วัสดุงานบ้านงานครัว

1.แปรง
2.ไม้กวาด
3.เข่ง
4.มุ้ง
5.ผ้าปูที่นอน
6.ปลอกหมอน
7.หมอน
8.ผ้าห่ม
9.ผ้าปูโต๊ะ
10.ถ้วยชาม
11.ช้อนส้อม
12.แก้วน้ำจานรอง
13.กระจกเงา
14.น้าจืดที่ซื้อจากเอกชน

วัสดุก่อสร้าง

1.ไม้ต่าง ๆ
2.น้ำมันทาไม้
3.ทินเนอร์
4.สี
5.แปรงทาสี
6.ปูนซีเมนต์
7.ปูนขาว
8.ทราย
9.อิฐหรือซีเมนต์บล็อก
10.กระเบื้อง
11.สังกะสี
12.ตะปู
13.ค้อน
14.คีม
15.ชะแลง
16.จอบ
17.เสียม
18.สิ่ว
19.ขวาน
20.สว่าน
21.เลื่อย
22.กบไสไม้
23.เหล็กเส้น
24.เครื่องวัดขนาดเล็ก เช่น ตลับเมตร ลูกดิ่ง
25.ท่อน้ำบาดาล
26.ท่อน้ำและอุปกรณ์ประปา
27.ท่อต่าง ๆ
28.โถส้วม
29.อ่างล้างมือ
30.ราวพาดผ้า

วัสดุยานพาหนะและขนส่ง
1.แบตเตอรี่
2.ยางนอก
3.ยางใน
4.สายไมล์
5.เพลา
6.ตลับลูกปืน
7.น้ำมันเบรก
8.อานจักรยาน
9.หัวเทียน
10.ไขควง
11.นอกและสกรู
12.กระจกมองข้างรถยนต์
13.หม้อน้ำรถยนต์
14.กันชนรถยนต์
15.เบาะรถยนต์
16.ฟิล์มกรองแสง
17.เข็มขัดนิรภัย

วัสดุเชื้อเพลิงและหล่อลื่น
1.น้ำมันดีเซล
2.น้ำมันก๊าด
3.น้ำมันเบนซิน
4.น้ำมันเตา
5.ถ่าน
6.แก๊สหุงต้ม
7.น้ำมันจารบี
8.น้ำมันเครื่อง

วัสดุวิทยาศาสตร์หรือการแพทย์
1.แอลกอฮอล์
2.ออกซิเจน
3.น้ำยาต่าง ๆ
4.เลือด
5.สายยาง
6.ลูกยาง
7.หลอดแก้ว
8.เวชภัณฑ์
9.ฟิล์มเอกซเรย์
10.เคมีภัณฑ์(รวมกำมะถัน กรด ด่าง)
11.ลวดเชื่อมเงิน
12.ถุงมือ
13.กระดาษกรอง
14.จุกต่าง ๆ
15.สัตว์เลี้ยงเพื่อการทดลองวิทยาศาสตร์หรือการแพทย์
16.สำลี และผ้าพันแผล
17.หลอดเอกซเรย์
18.ชุดเครื่องมือผ่าตัด

วัสดุการเกษตร
1.สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชและสัตว์
2.อาหารสัตว์
3.พันธุ์พืช
4.ปุ๋ย
5.พันธุ์สัตว์ปีกและสัตว์น้ำ
6.น้ำเชื้อพันธุ์สัตว์
7.วัสดุเพาะชำ
8.อุปกรณ์ในการขยายพันธุ์พืช เช่น ใบมีด เชือก
9.ผ้าใบหรือผ้าพลาสติก

วัสดุโฆษณาและเผยแพร่
1.กระดาษเขียนโปสเตอร์
2.พู่กันและสี
3.ฟิล์ม
4.ฟิล์มสไลด์
5.แถบบันทึกเสียงหรือภาพ (ภาพยนตร์,วีดีโอเทป,แผ่นซีดี)ที่บันทึกแล้วและยังไม่บันทึก
6.รูปสีหรือขาวดำที่ได้จากการล้าง อัด ขยาย
7.ภาพถ่ายดาวเทียม

วัสดุเครื่องแต่งกาย
1.เครื่องแบบ
2.เสื้อ กางเกง ผ้า
3.เครื่องหมายยศและสังกัด
4.ถุงเท้า
5.รองเท้า
6.เข็มขัด
7.หมวก
8.ผ้าผูกคอ
9.เครื่องแต่งกายชุดฝึกโขน-ละคร

วัสดุกีฬา
1.ห่วงยาง
2.ลูกฟุตบอล
3.ลูกปิงปอง
4.ไม้ตีปิงปอง

วัสดุคอมพิวเตอร์
1.แผ่นหรือจานบันทึกข้อมูล(Diskette, Floppy Disk, Removable Disk, Compact Disc, Digital Video Disc.
2.เทปบันทึกข้อมูล(Reel Magnetic Tape, Cassette Tape, Cartridge Tape)
3.หัวพิมพ์หรือแถบพิมพ์สำหรับเครื่องพิมพ์คอมพิวเตอร์
4.ตลับผงหมึกสำหรับเครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์
5.แผ่นกรองแสง
6.กระดาษต่อเนื่อง
7.สายเคเบิล
8.แผงแป้นอักขระหรือแป้นพิมพ์(Key board)
9.เมนบอร์ด(Main Board)
10.เมมโมรี่ชิป(Memory Chip)เช่นRAM
11.คัตชีทฟีดเดอร์ (Cut Sheet Feeder)
12.เมาส์(Mouse)
13.พรินเตอร์สวิตชิ่งบ๊อกซ์(Printer Switching Box)
14.เครื่องกระจายสัญญาณ(Hub)
15.แผ่นวงจรอิเลกทรอนิกส์(Card)เช่นEthemetCards,LanCard, Anti Virus Card, Sound Cardเป็นต้น
16.เครื่องอ่านและบันทึกข้อมูลแบบต่าง ๆ เช่นแบบดิสเกตต์(Diskette)แบบฮาร์ดดิสต์(Hard Disk)แบบซีดีรอม(CD-ROM)แบบออพติคอล(Optical)เป็นต้น
17.เครื่องอ่านข้อมูลแบบซีดีรอม(CD-ROM)

ตัวอย่างสิ่งของที่มีลักษณะคงทนถาวร และมีอายุการใช้งานในระยะเวลาประมาณ1ปีขึ้นไป แต่มีราคาหน่วยหนึ่งหรือชุดหนึ่งไม่เกิน5,000บาท ให้จัดเป็นวัสดุ

วัสดุสำนักงาน

1.เครื่องตัดโฟม
2.เครื่องตัดกระดาษ
3.เครื่องเย็บกระดาษ
4.กุญแจ
5.ภาพเขียน,แผนที่
6.เครื่องดับเพลิง
7.พระบรมฉายาลักษณ์
8.แผงปิดประกาศ
9.กระดานดำรวมถึงกระดานไวท์บอร์ด
10.แผ่นป้ายชื่อสำนักงานหรือหน่วยงาน แผ่นป้ายจราจร หรือแผ่นป้ายต่าง ๆ
11.มู่ลี่,ม่านปรับแสง(ต่อผืน)
12.นาฬิกาตั้งหรือแขวน
13.เครื่องคำนวณเลข(Calculator)
14.หีบเหล็กเก็บเงิน
15.พระพุทธรูป
16.พระบรมรูปจำลอง
17.แผงกั้นห้อง(Partition)
18.กระเป๋า
วัสดุไฟฟ้าและวิทยุ
1.สายอากาศหรือเสาอากาศสำหรับวิทยุ เครื่องรับโทรทัศน์ จานรับสัญญาณดาวเทียม
2.โคมไฟฟ้า พร้อมขาหรือก้าน
3.หม้อแปลงไฟฟ้า(Step-up, Step-down)
4.ลำโพง
5.ไมโครโฟน
6.ขาตั้งไมโครโฟน
7.ผังแสดงวงจรต่าง ๆ
8.แผงบังคับทางไฟ
9.ไฟฉายสปอตไลท์
10.หัวแร้งไฟฟ้า
11.เครื่องวัดความต้านทานไฟฟ้า
12.เครื่องวัดกระแสไฟฟ้า
13.เครื่องวัดแรงดันไฟฟ้า
14.มาตรสำหรับตรวจวงจรไฟฟ้า
15.เครื่องประจุไฟ
16.เครื่องตัดกระแสไฟฟ้าอัตโนมัติ
17.เครื่องสัญญาณเตือนภัย
18.เครื่องจับสัญญาณดาวเทียม
วัสดุงานบ้านงานครัว
1.ถาด
2.โอ่งน้ำ
3.ที่นอน
4.มีด
5.กระโถน
6.เตาไฟฟ้า
7.เตาน้ำมัน
8.เตารีด
9.เครื่องบดอาหาร
10.เครื่องตีไข่ไฟฟ้า
11.เครื่องปิ้งขนมปัง
12.กระทะไฟฟ้า
13.หม้อไฟฟ้ารวมถึงหม้อหุงข้าวไฟฟ้า
14.กระติกน้ำร้อน
15.กระติกน้ำแข็ง
16.ถังแก๊ส
วัสดุยานพาหนะและขนส่ง
1.แม่แรง
2.กุญแจปากตาย
3.กุญแจเลื่อน
4.คีมล็อค
5.ล็อคเกียร์
6.ล็อคคลัตช์
7.ล็อคพวงมาลัย
8.สัญญาณไฟฉุกเฉิน
วัสดุวิทยาศาสตร์และการแพทย์
1.ที่วางกรวยแก้ว
2.กระบอกตวง
3.เบ้าหลอม
4.หูฟัง(Stethoscope)
5.เปลหามคนไข้
6.คีมถอนฟัน
7.เครื่องวัดน้ำฝน
8.ถังเก็บเชื้อเพลิง
9.เครื่องนึ่ง
10.เครื่องมือวิทยาศาสตร์และการแพทย์
วัสดุโฆษณาและเผยแพร่
1.ขาตั้งกล้อง
2.ขาตั้งเขียนภาพ
3.กล่องและระวิงใส่ฟิล์มภาพยนตร์
4.เครื่องกรอเทป
5.เลนส์ซูม
6.กระเป๋าใส่กล้องถ่ายรูป
วัสดุการเกษตร
1.หน้ากากป้องกันแก๊สพิษ
2.สปริงเกอร์(Sprinkler)
3.จอบหมุน
4.จานพรวน
5.ผานไถกระทะ
6.เครื่องหยอดหรือหว่านเมล็ดพันธุ์
7.เครื่องทำความสะอาดเมล็ดพันธุ์
8.เครื่องกระเทาะเมล็ดพืช
9.คราดซี่พรวนดินระหว่างแถว
10.เครื่องดักแมลง
11.ตะแกรงร่อนเบนโธส
12.อวน(สำเร็จรูป)
13.กระชัง
วัสดุสนาม
1.เต็นท์
2.ถุงนอน
3.เข็มทิศ
4.เปล
5.เตียงสนาม
วัสดุการศึกษา
1.หุ่น
2.แบบจำลองภูมิประเทศ
3.สื่อการเรียนการสอนทำด้วยพลาสติก
4.กระดานลื่นพลาสติก
5.เบาะยืดหยุ่น
6.เบาะมวยปล้ำ
7.เบาะยูโด
วัสดุสำรวจ
1.บันไดอลูมิเนียม
2.เครื่องมือแกะสลัก
3.เครื่องมือดึงสายโทรศัพท์
วัสดุอื่น
1.มิเตอร์น้ำ-ไฟฟ้า
2.สมอเรือ
3.ตะแกรงกันสวะ
4.หัวเชื่อมแก๊ส
5.หัววาล์วปิด-เปิดแก๊ส

ข้อยกเว้น โปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือซอฟต์แวร์ที่มีราคาหน่วยหน่วยหนึ่งไม่เกิน20,000บาท ให้เบิกจ่ายในลักษณะค่าวัสดุ

หมวดค่าครุภัณฑ์
1.รายจ่ายเพื่อซื้อ แลกเปลี่ยน จ้างทำ ทำเองหรือกรณีอื่นใด เพื่อให้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในสิ่งของดังต่อไปนี้

1.1สิ่งของที่มีลักษณะคงทนถาวร มีอายุการใช้งานในระยะเวลาประมาณ1ปีขึ้นไป และมีราคาหน่วยหนึ่งหรือชุดหนึ่งเกิน5,000บาท หรือ
1.2ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการประกอบ ดัดแปลง หรือต่อเติมสิ่งของตามข้อ1เพื่อให้มีสภาพหรือประสิทธิภาพดีขึ้น

2.ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ซึ่งต้องชำระพร้อมกับค่าสิ่งของ เช่น ค่าขนส่ง ค่าภาษี ค่าประกันภัย ค่าติดตั้ง ฯลฯ ให้เบิกจ่ายในรายจ่ายค่าครุภัณฑ์

ประเด็นสำคัญในการจัดซื้อครุภัณฑ์ รวมทั้งการจัดซื้อวัสดุและบริการอื่น ๆ ด้วย ก็คือ
1.ควรซื้อเฉพาะรายการที่จำเป็นต้องใช้จริงในขณะนั้นเท่านั้น รายการใดที่ยังไม่จำเป็นหรือยังไม่แน่ใจว่าจะต้องใช้หรือไม่ หรือมีแนวโน้มว่าอาจจะได้มาจากแหล่งอื่น เช่น งบประมาณปกติ
(ซึ่งทั้งหมดนี้อาจทราบหลังจากที่ได้เริ่มโครงการหรือทำงานในโครงการไประยะหนึ่งแล้ว)ควรชะลอไว้ก่อน
2.ให้ได้สิ่งของที่มีคุณภาพสูงในเวลาที่ต้องการ และในราคาประหยัด(ราคานี้คิดรวมตลอดอายุการใช้งาน กล่าวคือ รวมค่าบำรุงรักษาและอื่น ๆ ด้วย อุปกรณ์ที่มีราคาเครื่องเริ่มต้นถูก
แต่อะไหล่และวัสดุแพงและใช้ได้ไม่ทนอาจไม่ถูกอย่างที่คาด)
3.จะต้องสั่งซื้อกับร้านค้า นิติบุคคลที่น่าเชื่อถือ และสามารถออกหลักฐานการรับเงินที่ต้องตามกฎหมาย
หลักฐานสำหรับหมวดค่าครุภัณฑ์ คือ ใบเสร็จรับเงิน หรือบิลเงินสด

ตัวอย่างสิ่งของที่เป็นครุภัณฑ์โดยสภาพ

ครุภัณฑ์สำนักงาน

1.โต๊ะ
2.โต๊ะทำงาน
3.โต๊ะพิมพ์ดีด
4.โต๊ะประชุม
5.โต๊ะวางเครื่องคอมพิวเตอร์
6.โต๊ะวางเครื่องพิมพ์
7.โต๊ะเขียนแบบ
8.โต๊ะอเนกประสงค์
9.โต๊ะอาหาร
10.โต๊ะหมู่บูชา
11.ชุดรับแขก
12.เก้าอี้
13.เก้าอี้ทำงาน
14.เก้าอี้ฟังคำบรรยาย
15.เก้าอี้เขียนแบบ
16.เก้าอี้สำหรับเจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์
17.เก้าอี้ผู้มาติดต่อ
18.ชั้นวางเอกสาร
19.ตู้
20.ตู้ไม้
21.ตู้เหล็ก
22.ตู้ดรรชนี
23.ตู้เก็บแผนที่
24.ตู้นิรภัย
25.ตู้เก็บแบบฟอร์ม
26.ตู้เสื้อผ้า
27.ตู้ล็อกเกอร์
28.ตู้ติดประกาศ
29.ตู้โชว์
30.ตู้เก็บเอกสาร
31.เครื่องพิมพ์ดีด
32.เครื่องโทรศัพท์รวมถึงเครื่องโทรศัพท์ภายใน(intercom)
33.เครื่องโทรภาพหรือโทรสาร(Facsimile)
34.เครื่องถ่ายเอกสาร
35.เครื่องอัดสำเนา
36.เครื่องพิมพ์สำเนาระบบดิจิตอล
37.เครื่องทำลายเอกสาร
38.เครื่องเจาะกระดาษและเข้าเล่ม
39.เครื่องบันทึกเงินสด
40.เครื่องปรับอากาศ
41.พัดลมรวมถึง พัดลมระบายอากาศ
42.เครื่องดูดฝุ่น
43.ลิฟท์
44.รถเข็น
45.ถังเก็บน้ำ
46.เครื่องปรุกระดาษไข
47.เคาน์เตอร์
48.แท่นอ่านหนังสือ
49.ที่วางหนังสือพิมพ์
50.เครื่องขัดพื้น
51.เครื่องชุมสายโทรศัพท์
52.ตู้โทรศัพท์หรือตู้สาขาโทรศัพท์
53.เครื่องโทรพิมพ์
54.เครื่องนับธนบัตร
55.เครื่องฟอกอากาศ
56.วิทยุติดตามตัว
ครุภัณฑ์การศึกษา
1.จักรธรรมดา
2.จักรทำลวดลาย
3.จักรพันริม
4.จักรอุตสาหกรรม
5.โต๊ะนักเรียน
6.เครื่องเขียนตัวอักษร
ครุภัณฑ์ยานพาหนะและขนส่ง
1.รถยนต์นั่ง
2.รถยนต์โดยสาร
3.รถยกของ
4.รถปั้นจั่น
5.รถบรรทุก
6.รถลากเครื่องบิน
7.รถเทรลเลอร์
8.รถดับเพลิง
9.รถจักรยานยนต์
10.รถจักรยาน
11.เรือยนต์
12.เรือบด
13.เรือติดท้าย
14.เรือเร็ว
15.เรือพ่วง
16.เครื่องบิน
17.แม่แรงยกอากาศยาน
18.รถกระบะเทท้าย
19.รถบรรทุกน้ำ
20.รถบรรทุกน้ำมัน
21.รถบรรทุกขยะ
22.เครื่องยนต์
ครุภัณฑ์การเกษตร
1.ปศุสัตว์(ช้าง ม้า วัว ควาย)
2.รถไถ
3.รถฟาร์มแทรกเตอร์
4.เครื่องพ่นยา
5.เครื่องเก็บเกี่ยวข้าวโพด ข้าวฟ่าง
6.เครื่องตัดวัชพืช
7.เครื่องหว่านปุ๋ย
8.เครื่องยกร่อง
9.เครื่องนวดธัญพืช
10.เครื่องผสมยาคลุกเมล็ดพันธุ์
11.เครื่องนับเมล็ดพืช
12.ตู้เก็บเมล็ดพันธุ์
13.เครื่องรดน้ำ
14.เครื่องสีข้าวโพด
15.เครื่องสีฝัด
16.เครื่องเกลี่ยหญ้า
17.เครื่องคราดหญ้า
18.เครื่องบดและผสมอาหารสัตว์
19.เครื่องสูบน้ำ
20.เครื่องขยายเกล็ดปลา
21.เครื่องชั่ง
ครุภัณฑ์ก่อสร้าง
1.เครื่องกระทุ้งดิน หรือแอสฟัลท์
2.เครื่องกลึง
3.เครื่องเจาะหิน
4.เครื่องเจาะเหล็ก
5.สว่านเจาะแผ่นเหล็ก
6.เครื่องเชื่อมโลหะ
7.เครื่องพ่นสี
8.เครื่องผสมยางแอสฟัลท์
9.เครื่องผสมคอนกรีต
10.เครื่องมือทดลองคอนกรีต
11.เครื่องสั่นคอนกรีต
12.เครื่องตบดิน
13.เครื่องมือทดลองความลาดเท
14.เครื่องมือไสไม้ไฟฟ้า
15.เลื่อยไฟฟ้า
16.รอกแม่แรง
17.รถเตาต้มยาง
18.รถพ่นยาง
19.รถตักดิน
20.รถบด
21.รถบดล้อเหล็ก
22.รถบดล้อเหล็กเรียบ
23.รถบดตีนแกะ
24.รถบดอัดขยะ
25.รถตักล้อยาง
26.รถเข็น
27.รถเกรเดอร์
28.รถขุดตีนตะขาบ
29.รถแทรกเตอร์ตีนตะขาบ
30.รถอัดฉีด
31.รถเกลี่ยดิน
32.รถตักหน้าขุดหลัง
33.รถกวาดถนน
34.เครื่องโม่หิน
35.เครื่องตอกเข็ม
36.เครื่องตีเส้น
37.เครื่องอัดจารบี
38.เครื่องอัดลม
39.เครื่องตัดกระเบื้อง
ครุภัณฑ์ไฟฟ้าและวิทยุ
1.เครื่องกำเนิดไฟฟ้า
2.หม้อแปลงไฟฟ้า(Transformer)
3.เครื่องขยายเสียง
4.เครื่องบันทึกเสียง
5.เครื่องเล่นแผ่นเสียง
6.เครื่องรับวิทยุ
7.เครื่องส่งวิทยุ
8.เครื่องรับโทรทัศน์
9.เครื่องส่งโทรทัศน์
10.เครื่องวัดความถี่คลื่นวิทยุ
11.เครื่องอัดสำเนาเทป
12.เครื่องถอดเทป
13.วิทยุ-เทป
14.เครื่องเล่นซีดี(Compact Disc)
ครุภัณฑ์โฆษณาและเผยแพร่
1.กล้องถ่ายรูป
2.กล้องถ่ายภาพยนตร์
3.กล้องถ่ายวีดีโอ
4.เครื่องอัดและขยายภาพ
5.เครื่องฉายภาพยนตร์
6.เครื่องฉายสไลด์
7.เครื่องวิดีโอ
8.เครื่องฉายภาพทึบแสง
9.เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ
10.เครื่องเทปซิงโครไนต์
11.ไฟแวบ
12.จอรับภาพ
13.เครื่องล้างฟิล์ม
14.โต๊ะตัดต่อฟิล์มภาพยนตร์
15.เครื่องฉายภาพจากสัญญาณวิดีโอ
16.เครื่องตัดต่อภาพ
17.โคมไฟถ่ายภาพและวิดีโอ
ครุภัณฑ์วิทยาศาสตร์หรือการแพทย์
1.เตียงเฟาว์เลอร์31.เครื่องวัดความถี่61.เครื่องจี้คอ
2.เตียงตรวจโรค32.เครื่องวัดความสูง62.เครื่องดูดเสมหะ
3.เตียงตรวจภายใน33.เครื่องวัดอุณหภูมิโลหะเหลว63.เครื่องดูดเลือดและหนอง
4.เตียงเด็ก34.เครื่องอัดลมขับด้วยเครื่องยนต์64.เครื่องเจาะกระดูก
5.เตียงทำคลอด35.เครื่องกรอแสง65.เครื่องเจาะไข
6.รถเข็นชนิดนั่ง36.เครื่องวัดแสง66.เครื่องอุ่นสไลด์
7.รถเข็นชนิดนอน37.เครื่องทดสอบแสงสว่าง67.เครื่องตรวจหาเนื้อเยื่อมะเร็ง
8.รถเข็นทำแผล38.เครื่องวัดรังสี68.เครื่องกรอฟัน
9.รถเข็นถาดแจกยา39.เครื่องวัดพลังแสงแดด69.เครื่องอบแอมโมเนีย
10.รถเข็นอาหาร40.เครื่องวัดความกดอากาศ (Barometer)70.เครื่องให้ออกซิเจน
11.รถเข็นผ้าเปื้อน41.เครื่องแปลงสภาพน้ำกระด้างให้เป็นน้ำอ่อน71.เครื่องเอกซเรย์
12.หม้อต้มเครื่องมือไฟฟ้า42.เครื่องตรวจสอบคุณภาพน้ำ72.เครื่องดูดฟิล์มเอกซเรย์
13.ตู้อบเด็ก43.เครื่องกลั่นน้ำ73.เครื่องล้างฟิล์มเอกซเรย์
14.ยูนิตทำฟัน44.เครื่องวัดอุณหภูมิน้ำ74.ฉากกั้นแสงเอกซเรย์
15.ตู้ส่องดูฟิล์มเอกซเรย์45.เครื่องวัดความเป็นกรด75.เครื่องช่วยหายใจ
16.กล้องจุลทรรศน์46.เครื่องระเหยของเหลว76.เครื่องตรวจหัวใจ
17.กล้องดูดาว47.เครื่องมือวิเคราะห์ด้วยเปลวไฟ77.เครื่องตรวจไขมัน
18.เครื่องช่วยความสว่างของกล้องจุลทรรศน์48.เครื่องวิเคราะห์แยกขนาดของเม็ดดิน78.เครื่องตรวจตา
19.เครื่องชั่งน้ำหนัก49.เครื่องวัดความชื้นในดิน79.เครื่องตรวจเมล็ดเลือด
20.เครื่องดูดอากาศ50.เครื่องกวนด้วยแม่เหล็ก80.เครื่องให้ยาสลบ
21.เครื่องทดสอบความถ่วงจำเพาะของของเหลว51.ตู้ทำน้ำแข็ง81.เครื่องล้างเข็มฉีดยา
22.เครื่องมือเทียบสีเคมี52.หม้อต้มเครื่องมือ82.เครื่องวัดประสาท
23.เครื่องลอกลวดลายจากภาพถ่าย53.หม้อเก็บอากาศ83.เครื่องวัดความดันโลหิต
24.เครื่องจ่ายแก๊สคลอรีน54.เตาแอลกอฮอล์84.เครื่องวัดรัศมีการเห็นของลูกตา
25.เครื่องเป่าลม55.โซเดียมแลมพ์85.โคมไฟผ่าตัด
26.เครื่องตรวจสอบมาตรไฟฟ้า56.เครื่องวัดความยืดและหดตัวของวัตถุ86.เครื่องมือช่วยคลอด
27.เครื่องมือเติมน้ำยา57.เครื่องขบนิ่ว87.เครื่องกรองเชื้อไวรัส(Filtering Apparatus)
28.เครื่องมือทดลองหาลิควิดลิมิท58.เครื่องตักตะกอน88.เครื่องมือสำหรับบดอาหารของเชื้อแบคทีเรีย
29.เครื่องจับความเร็ว59.เครื่องวัดตะกอน89.เครื่องปั่นและผสมสารอุดฟัน
30.เครื่องวัดกำลังอัด60.เครื่องจี้จมูก
ครุภัณฑ์งานบ้านงานครัว
1.เครื่องกรองน้ำ
2.เครื่องดูดควัน
3.เครื่องตัดหญ้า
4.ตู้เย็น ตู้แช่อาหาร
5.เครื่องซักผ้า
6.เครื่องล้างชาม
7.เครื่องทำน้ำเย็น
8.เตาอบ
9.เตาแก๊ส
10.เตียง
11.ผ้าม่านพร้อมอุปกรณ์
ครุภัณฑ์โรงงาน
1.เครื่องพิมพ์ลายบนแก้ว19.เครื่องพับและม้วนเหล็ก37.เครื่องกลั่น
2.แท่นพิมพ์20.เครื่องจักรกล38.เครื่องกว้าน
3.เครื่องพิมพ์แบบ21.เครื่องจักรไอน้ำ39.เครื่องโม่หิน
4.เครื่องทำเหรียญกษาปณ์22.เครื่องล้างทำความสะอาดเครื่องยนต์40.เครื่องย่อยหิน
5.เครื่องตีตราและอัดแบบ23.เครื่องตรวจสอบหัวฉีดเครื่องยนต์41.ตะแกรงคัดแร่
6.เครื่องปั๊มตราดุน24.เครื่องอัดฉีดเครื่องจักร42.เครื่องอัดจารบี
7.เครื่องเขียนโลหะด้วยไฟฟ้า25.เครื่องมือถอดสปริงลิ้น43.เครื่องปั๊มน้ำมันไฟฟ้า
8.เครื่องเชื่อมโลหะ26.เครื่องสำหรับดูดบู๊ชและลูกปืน44.เครื่องหยอดน้ำมัน (Line Oiler)
9.เครื่องชุบผิวโลหะ27.เครื่องตรวจทุ่นไดนาโม45.มอเตอร์หินเจีย
10.เตาเคลือบโลหะ28.เครื่องดูดลม46.เครื่องเจียหรือตัด
11.เตาหลอมโลหะ29.แท่นกลึง47.เครื่องขัดกระดาษทราย
12.เตาอบ30.เครื่องคว้าน48.เลื่อยวงเดือนไฟฟ้า
13.ตู้อบเครื่องรัก31.เครื่องทำเกลียว49.เลื่อยฉลุไฟฟ้า
14.เครื่องเจียระไน32.เครื่องทำเฟือง50.เครื่องลอกบัว
15.เครื่องทอผ้า33.เครื่องดูดเฟือง51.เครื่องเป่าลม
16.เครื่องดัดโลหะ34.เครื่องถอดและต่อโซ่52.ไขควงไฟฟ้า
17.เครื่องปั๊มและตัดโลหะ35.เครื่องปรับความถี่และกำลังดัน53.กบไฟฟ้า
18.เครื่องตัดเหล็ก36.ทั่งระดับเหล็ก54.สว่านไฟฟ้า
55.แม่แรงตะเฆ่
ครุภัณฑ์กีฬา
1.แทรมโปลิม
2.บ๊อกซ์แตนด์
3.โต๊ะเทเลิเทนนิส
4.จักรยานออกกำลังกาย
5.เหล็กยกน้ำหนักเป็นชุด
6.บาร์คู่
7.บาร์ต่างระดับ
8.ม้าหู
9.ม้าขวาง

ครุภัณฑ์สำรวจ

1.กล้องส่องทางไกล
2.เครื่องเจาะสำรวจ
3.กล้องระดับ
4.กล้องวัดมุม
5.โซ่ลาน
6.ไม้สตาฟฟ์
7.เทปวัดระยะ

ครุภัณฑ์อาวุธ

1.ปืน
2.ปืนลูกซอง
3.ปืนพก
.
ครุภัณฑ์ดนตรีและนาฎศิลป์
1.ปี่คาลิเน็ท
2.แตรทรัมเป็ท
3.แตรทรัมโบน
4.แตรบาริโทน
5.แตรยูฟอร์เนียม
6.แตรบาสซูน
7.แซกโซโฟน
8.ไวโอลิน
9.วิโอล่า
10.เซลโล่
11.เบส
12.เปียโน
13.ออร์แกนไฟฟ้า
14.ระนาด
15.ฆ้องวง
16.ขิม
17.ศีรษะโขนละคร
18.เครื่องแต่งกายชุดแสดงโขน-ละคร
ครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์
1.มอนิเตอร์(Monitor)
2.เครื่องพิมพ์(Printer)แบบต่าง ๆ เช่นDot Matrix Printer, Laser Printer, Line Printer,IntJetเป็นต้น
3.พล็อตเตอร์(Plotter)
4.เครื่องแปรงรหัสสัญญาณ(Modem)
5.เครื่องถ่ายทอดสัญญาณจากคอมพิวเตอร์ขึ้นจอภาพ(Projector)
6.เครื่องปรับระดับกระแสไฟ

 

 

 

 

http://eng.sut.ac.th/research/2015/index.php?SID&content_module_id=1910&content_module_menu=_left_

X