ปริญญาเอก

ปริญญาเอก

SFL SUT MA and PhD study plan

โครงร่างหลักสูตร (Program Profile)

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต  สาขาวิชาภาษาอังกฤษศึกษา  สำนักวิชาเทคโนโลยีสังคมมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เริ่มเปิดสอนตั้งแต่ปีการศึกษา 2544 โดยใช้หลักสูตร พ.ศ. 2544 และมีการปรับปรุงหลักสูตรมาแล้ว 3 ครั้ง ได้แก่ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2550 หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2555 และปัจจุบันใช้หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560

  1. ปรัชญา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1.1 ปรัชญา ความสำคัญ

ในปัจจุบันเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปถึงความสำคัญของความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าในวงการการศึกษา หรือวงการธุรกิจ ผู้ที่มีความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษได้ดีมักได้รับโอกาสในการพัฒนาตนเอง เช่นการศึกษาในระดับที่สูงขึ้น หรือการได้ทำงานในตำแหน่งที่ดีขึ้น มากกว่าผู้ที่มีความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษจำกัด นอกจากนี้เมื่อปี พ.ศ. 2558 จะมีการจัดตั้งประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ซึ่งเปิดโอกาสให้บุคลากรจากประเทศในกลุ่มอาเซียนสามารถเดินทางไปทำงานในประเทศสมาชิกอื่นๆได้อย่างเสรี จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเตรียมบัณฑิตที่จบการศึกษาในสาขาวิชาต่างๆ ให้มีความสามารถทางภาษาอังกฤษในระดับดี ในการที่จะสามารถผลิตบัณฑิตให้มีความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษได้ดีนั้น ปัจจัยที่สำคัญก็คือบัณฑิตเหล่านี้ได้รับการศึกษาภาษาอังกฤษที่มีคุณภาพ จากครูผู้สอนและบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนภาษาอังกฤษที่มีความรู้ความสามารถ

สาขาวิชาภาษาต่างประเทศ ซึ่งได้เปิดสอนหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ตั้งแต่ ปี 2544 ได้ผลิตบัณฑิตเพื่อรับใช้สังคม โดยหลักสูตรยึดหลักปรัชญาคือ การผลิตนักวิชาชีพด้านภาษาอังกฤษศึกษาขั้นสูงที่สามารถปฏิบัติงานวิจัย สร้างองค์ความรู้ใหม่ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ภาษาอังกฤษ การเรียนการสอนภาษาอังกฤษและการวิจัย เป็นผู้มีคุณธรรมและจริยธรรมในวิชาชีพ

1.2 วัตถุประสงค์

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษศึกษา มีจุดมุ่งหมายเพื่อผลิตบัณฑิตผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญในการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ โดยมุ่งเน้นความเป็นเลิศในการวิจัย สามารถคิดและออกแบบการวิจัยอย่างเป็นระบบ เพื่อศึกษาค้นคว้าประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวกับภาษาอังกฤษศึกษาในเชิงลึก และเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ในศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ เน้นการทำวิจัยเชิงปฏิบัติอันจะนำไปสู่การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ

  1. โครงสร้างหลักสูตร

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต

แบบ 1 การทำวิจัยเพื่อทำวิทยานิพนธ์โดยไม่ต้องศึกษารายวิชา

แบบ 1.1  สำหรับผู้เข้าศึกษาที่จบการศึกษาขั้นปริญญาโท

วิทยานิพนธ์ (ไม่น้อยกว่า)              60         หน่วยกิต

 

 

แบบ 2  เน้นการวิจัยโดยมีการทำวิทยานิพนธ์และศึกษารายวิชา

แบบ 2.1  สำหรับผู้เข้าศึกษาที่จบการศึกษาขั้นปริญญาโท

ไม่น้อยกว่า 61 หน่วยกิต

วิชาบังคับ                                10       หน่วยกิต

วิชาเลือก (ไม่น้อยกว่า)                    6         หน่วยกิต

วิทยานิพนธ์ (ไม่น้อยกว่า)                                        45         หน่วยกิต

แบบ 2.2  สำหรับผู้เข้าศึกษาที่จบการศึกษาขั้นปริญญาตรี

ไม่น้อยกว่า 91 หน่วยกิต

วิชาบังคับ                                10       หน่วยกิต

วิชาเลือก (ไม่น้อยกว่า)            21    หน่วยกิต

วิทยานิพนธ์ (ไม่น้อยกว่า)  60       หน่วยกิต

 

รายวิชาที่เปิดสอนในหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต

วิชาบังคับ  (10 หน่วยกิต)

233611           การวิจัยเชิงปริมาณ                                           4(4-0-8)

(Quantitative Research)

233612           การวิจัยเชิงคุณภาพ                                           3(3-0-6)

(Qualitative Research)

233613           ปฏิบัติการวิจัย                                              3(3-0-6)

(Research Practice)

 

วิชาเลือก (6 หรือ 21 หน่วยกิต)

ด้านทักษะภาษา

233601           การเขียนงานวิจัยและวิทยานิพนธ์                            3(3-0-6)

(ระดับคะแนน S/U)

(Writing Up Research and Thesis)

(Grade S/U)

ด้านทักษะการวิจัย

233614           สถิติขั้นสูงสำหรับการวิจัยภาษาอังกฤษศึกษา   3(3-0-6)

(Advanced Statistics for Research in English

Language Studies)

233615           สัมมนาการวิจัยภาษาอังกฤษศึกษา                              3(3-0-6)

(Research Seminar in English Language Studies)

233616           การศึกษาอิสระภาษาอังกฤษศึกษา                              3(3-0-6)

(Independent Study in English Language Studies)

ด้านเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอนภาษา

233621           นวัตกรรมในการเรียนรู้ภาษาที่สอง                            3(3-0-6)

(Innovations in Second Language Learning)

233622           การออกแบบการสอน                                           3(3-0-6)

(Instructional Design)

 

ด้านการวิเคราะห์ภาษา

233631           สัมพันธสารวิเคราะห์                                           3(3-0-6)

(Discourse Analysis)

233632           วัจนปฏิบัติศาสตร์และการเรียนรู้ภาษา            3(3-0-6)

(Pragmatics and Language Learning)

233633           ภาษาศาสตร์สังคม                                           3(3-0-6)

(Sociolinguistics)

233634           ภาษาศาสตร์ชุดข้อมูล                                           3(3-0-6)

(Corpus Linguistics)

 

ด้านทักษะการเรียนการสอนภาษา

233641           การทดสอบ การประเมินผล และการวัดผลการเรียนภาษา 3(3-0-6)

(Testing, Evaluation, and Assessment in

Language Learning)

233642           กระบวนการวิพากษ์ในภาษาอังกฤษศึกษา                       3(3-0-6)

(Critical Approaches in English Language Studies)

233643           การพัฒนาหลักสูตรและการประกันคุณภาพการศึกษา   3(3-0-6)

(Curriculum Development and Quality Assurance)

233644           แนวโน้มและประเด็นทางภาษาอังกฤษศึกษา        3(3-0-6)

(Trends and Issues in English Language Studies)

วิทยานิพนธ์

แบบ 1 การทำวิจัยเพื่อทำวิทยานิพนธ์โดยไม่ต้องศึกษารายวิชา

แบบ 1.1 สำหรับผู้เข้าศึกษาที่จบการศึกษาขั้นปริญญาโท

233651            วิทยานิพนธ์                 60  หน่วยกิต

แบบ 2  เน้นการวิจัยโดยมีการทำวิทยานิพนธ์และศึกษารายวิชา

แบบ 2.1 สำหรับผู้เข้าศึกษาที่จบการศึกษาขั้นปริญญาโท

233651            วิทยานิพนธ์                  45  หน่วยกิต

แบบ 2.2 สำหรับผู้เข้าศึกษาที่จบการศึกษาขั้นปริญญาตรี

233651            วิทยานิพนธ์                  60  หน่วยกิต

  1. ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร (ELO)

นักศึกษาสามารถออกแบบและดำเนินการวิจัยเชิงลึกเพื่อพัฒนานวัตกรรมหรือสร้างองค์ความรู้ใหม่ที่เกี่ยวกับการสอนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ (TEFL) ภาษาศาสตร์ (Linguistics) การใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยในการสอนภาษา (TELL) เพื่อสร้างความก้าวหน้าให้กับวงการวิชาการและวิชาชีพ

 

  1. ลักษณะวิชาชีพ ลักษณะวิชาที่ศึกษา

เป็นวิชาชีพที่ผลิตผู้เรียนให้มีความรู้และทักษะในการวิจัยขั้นสูงในเรื่องที่เกี่ยวกับภาษาอังกฤษศึกษา  วิชาที่เปิดสอนจึงเน้นการทำวิจัยทั้งในระดับทฤษฎีและปฏิบัติและเพิ่มเติมในรายวิชาเลือกอื่นๆ ที่มาจากกลุ่มรายวิชา 5 กลุ่ม คือ กลุ่มทักษะภาษา ด้านทักษะการวิจัย ด้านเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอนภาษา ด้านการวิเคราะห์ภาษา และด้านทักษะการสอนภาษา

ในการจัดการเรียนการสอนทุกรายวิชา มุ่งให้ผู้เรียนมีการพัฒนาผลการเรียนรู้ครบทั้ง 5 ด้านคือ ด้านคุณธรรม จริยธรรม ด้านความรู้ ด้านทักษะทางปัญญา ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ และด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

1). ด้านคุณธรรม จริยธรรม

1.1 มีคุณธรรม จริยธรรม สามารถดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

1.2 มีความยุติธรรมในการจัดการกับปัญหาต่างๆ ยึดมั่นในหลักการและค่านิยมอันดีงาม

1.3 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ

1.4 มีภาวะผู้นำเชิงคุณธรรม ประพฤติตนเป็นตัวอย่างที่ดีแก่คนทั่วไป

 

2). ด้านความรู้

2.1 มีความรู้และความเข้าใจในหลักทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับภาษา การเรียนและการสอนภาษาต่างประเทศ การใช้เทคโนโลยีในการสอนภาษาอย่างลึกซึ้ง

2.2 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการออกแบบงานวิจัยเพื่อแสวงหาองค์ความรู้ใหม่และเพื่อนำผลงานวิจัยมาแก้ปัญหาการเรียนการสอนภาษา

2.3 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนานวัตกรรมและสร้างองค์ความรู้ใหม่ในวิชาชีพ

2.4 มีทัศนคติของการสืบหาความรู้ใหม่อย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างความรอบรู้ต่อการเปลี่ยนแปลงที่เป็นปัจจุบันในวงการวิชาการและวิชาชีพทั้งในระดับชาติและนานาชาติ

 

3). ด้านทักษะทางปัญญา

3.1 สามารถแสวงหาและใช้ความรู้ทางทฤษฎีและความคิดสร้างสรรค์ เพื่อวิเคราะห์ประเด็นและปัญหาที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3.2 สามารถวิเคราะห์และสังเคราะห์ทฤษฎีและผลการวิจัยเพื่อปรับปรุงแนวปฏิบัติในวิชาชีพและเพื่อสร้างองค์ความรู้หรือนวัตกรรม

3.3 สามารถออกแบบและดำเนินการวิจัยเพื่อปรับปรุงแนวปฏิบัติในวิชาชีพและเพื่อสร้างองค์ความรู้หรือนวัตกรรม

3.4 สามารถบูรณาการแนวคิดทั้งจากภายในและภายนอกสาขาวิชาที่ศึกษา เพื่อปรับปรุงแนวปฏิบัติในวิชาชีพและเพื่อสร้างองค์ความรู้หรือนวัตกรรม

 

4). ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ

4.1 มีความสามารถในการแก้ไขปัญหาที่มีความซับซ้อนทางวิชาการและวิชาชีพและสามารถร่วมมือกับผู้อื่นในการจัดการปัญหาต่าง ๆ

4.2 สามารถตัดสินใจและรับผิดชอบในการดำเนินงานด้วยตนเอง

4.3 สามารถประเมินและวางแผนในการปรับปรุงตนเอง กลุ่มและองค์กรให้มีประสิทธิภาพ

4.4 มีทักษะการเป็นผู้นำทางวิชาการและวิชาชีพอย่างเหมาะสมตามโอกาสและสถานการณ์

 

5). ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

5.1 สามารถประยุกต์ใช้สถิติในการศึกษาวิจัยปัญหาต่างๆ

5.2 สามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งในวิชาการและวิชาชีพ

5.3 สามารถนำเสนอผลงานวิชาการและวิชาชีพด้วยวาจา

5.4 สามารถนำเสนอผลงานวิชาการและวิชาชีพด้วยการเขียน

5.5 สามารถใช้เทคโนโลยีในการสื่อสารอย่างเหมาะสม

 

  1. เกณฑ์ในการคัดเลือกเข้าศึกษา/คุณสมบัติของผู้ศึกษา/ความต้องการของหลักสูตร

เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีว่าด้วยการศึกษาขั้นบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2558

 

  1. แนวทางการประกอบอาชีพสำหรับผู้สำเร็จการศึกษา

6.1 อาจารย์ในสาขาการสอนภาษาอังกฤษ ภาษาศาสตร์ประยุกต์

6.2 ผู้เชี่ยวชาญด้านการใช้เทคโนโลยีเพื่อการสอนภาษาอังกฤษ

6.3 นักวิจัย นักวิชาการด้านการสอนภาษาอังกฤษ

6.4 ผู้เชี่ยวชาญการใช้ภาษาอังกฤษในงานธุรกิจ

6.5 นักวิชาชีพในองค์กรที่มีการใช้ภาษาอังกฤษในการติดต่อสื่อสาร

X