หลักสูตรปริญญาตรี สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช

หลักสูตรปริญญาตรี สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช
(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562)

 

รายละเอียดหลักสูตร

ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย : หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช
ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Science Program in Crop Production Technology

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ชื่อเต็ม (ไทย) : วิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคโนโลยีการผลิตพืช)
ชื่อย่อ (ไทย) : วท.บ. (เทคโนโลยีการผลิตพืช)
ชื่อเต็ม (อังกฤษ) : Bachelor of Science (Crop Production Technology)
ชื่อย่อ (อังกฤษ) : B.Sc. (Crop Production Technology)

ลักษณะวิชาชีพ

        เป็นนักวิชาการทางด้านการผลิตพืช ที่สามารถใช้และพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการผลิตพืชเศรษฐกิจ มีความรู้ในการบริหารและจัดการฟาร์มผลิตพืช และมีทักษะพื้นฐานในการค้นคว้าวิจัยทางด้านพืชศาสตร์และการปรับปรุงพันธุ์พืช

ลักษณะวิชาที่ศึกษา

วิชาในหลักสูตรเทคโนโลยีการผลิตพืช จัดแบ่งเป็นหมวดต่าง ๆ ได้ ดังนี้
1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป
        เป็นหมวดวิชาที่จะช่วยให้นักศึกษาทั้งเรื่องของ “จิตใจ” และ “จิตปัญญา” เพื่อให้นักศึกษาสามารถแสดงศักยภาพที่ดีที่สุดของตนในการสนองตอบความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ผู้ใช้ บัณฑิตมีความพึงพอใจทั้งด้านความรู้ทางวิชาการและทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ และผู้เรียนมีความภาคภูมิใจในวุฒิภาวะ ของตน โดยยึดแนวทางการพัฒนานักศึกษาที่มีความสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของการพัฒนาประเทศบนฐานนวัตกรรม วิชาในหมวดนี้แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ
        1.1 กลุ่มวิชาแกนศึกษาทั่วไป
        1.2 กลุ่มวิชาภาษา
        1.3 กลุ่มวิชาศึกษาทั่วไปแบบเลือก

2. หมวดวิชาเฉพาะ
        เป็นหมวดวิชาที่จะช่วยสร้างพื้นฐานของความเป็นนักวิชาการทางด้านพืชศาสตร์และเทคโนโลยีการผลิตพืชรวมถึงความสามารถในการจัดการและบริหารฟาร์มในฐานะผู้ประกอบการ ประกอบด้วย 4 กลุ่มวิชา คือ

        2.1 กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ เช่น วิชาเคมีอินทรีย์ ปฏิบัติการเคมีอินทรีย์ เคมีพื้นฐาน 1 แคลคูลัสพื้นฐาน หลักชีววิทยา 1 ชีววิทยาของพืช พันธุศาสตร์ ฟิสิกส์ทั่วไป จุลชีววิทยา ชีวเคมี เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น การจัดการธุรกิจฟาร์ม ปฐมนิเทศการเกษตร เป็นต้น
        2.2 กลุ่มวิชาบังคับวิชาชีพ เช่น การผลิตพืชเบื้องต้น ฝึกงานการผลิตพืช สรีรวิทยาการผลิตพืช ดินและ การจัดการดิน แมลง สัตว์ศัตรูพืช และการป้องกันกาจัด โครงการผลิตพืชเชิงธุรกิจ การปรับปรุงพันธุ์พืช เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว การขยายพันธุ์พืช การจัดการธาตุอาหารพืชและปุ๋ย โรคพืชและการป้องกันกาจัด เทคโนโลยีเมล็ดพันธุ์ เป็นต้น
        2.3 กลุ่มวิชาเลือกวิชาชีพ 2 กลุ่มวิชา นักศึกษาสามารถเลือกเรียนแต่ละกลุ่มวิชาตามความถนัดหรือความสนใจที่จะไปประกอบอาชีพ หรือศึกษาต่อ ได้แก่
               ก. การบริหารงานฟาร์มและธุรกิจการผลิตพืช
               ข. เทคโนโลยีการผลิตพืช
        2.4 กลุ่มวิชาสหกิจศึกษา เพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติงานในสถานประกอบการจริงในฐานะพนักงานเพื่อสร้างทักษะในการทางานและการแก้ปัญหาขณะปฏิบัติงาน

คุณสมบัติของผู้ศึกษา

      เป็นผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่าจากสถาบันการศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการรับรอง มีพื้นฐานความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ มีความสนใจวิชาทางด้านชีววิทยา เคมี จุลชีววิทยา พืชศาสตร์ แลtเกษตรศาสตร์ สามารถปฏิบัติงานได้ทั้งในสภาพห้องปฏิบัติการและภาคสนาม รักและสนใจที่จะทางานกับพืช

แนวทางการประกอบอาชีพ

นักวิชาการและนักวิจัยในด้านการเกษตร
ผู้ประกอบการด้านการผลิตพืช และอาชีพอิสระที่เกี่ยวข้อง
อาจารย์และนักวิจัย

 

หลักสูตร

จำนวนหน่วยกิตรวม  ไม่น้อยกว่า 177 หน่วยกิต

 

โครงสร้างหลักสูตร

1) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป                              ไม่น้อยกว่า 38 หน่วยกิต

     – กลุ่มวิชาแกนศึกษาทั่วไป                                                    15 หน่วยกิต

     – กลุ่มวิชาภาษาต่างประเทศ                                                  15 หน่วยกิต

     – กลุ่มวิชาแกนศึกษาทั่วไปแบบเลือก                                      8 หน่วยกิต

2) หมวดวิชาเฉพาะ                                       ไม่น้อยกว่า 132 หน่วยกิต

     2.1) แบบเอก (เทคโนโลยีการผลิตพืช)

             – กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ                                               63 หน่วยกิต

             – กลุ่มวิชาบังคับวิชาชีพ                                                 48 หน่วยกิต

             – กลุ่มการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน                          12 หน่วยกิต

             – กลุ่มวิชาประสบการณ์ภาคปฏิบัติ                                   9 หน่วยกิต

     2.2) แบบวิชาเอก-วิชาโท (เทคโนโลยีการผลิตพืช-โทความเป็นผู้ประกอบการ)

             – กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ                                               63 หน่วยกิต

             – กลุ่มวิชาบังคับวิชาชีพ                                                 48 หน่วยกิต

             – กลุ่มการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน                          12 หน่วยกิต

             – กลุ่มวิชาประสบการณ์ภาคปฏิบัติ                                   9 หน่วยกิต

3) หมวดวิชาเลือกเสรี                                   ไม่น้อยกว่า  8 หน่วยกิต

X