หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอาหาร

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอาหาร

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอาหาร
(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560)

 

ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย : หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอาหาร
ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Science Program in Food Technology

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ชื่อเต็ม (ไทย) : วิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคโนโลยีอาหาร)
ชื่อย่อ (ไทย) : วท.บ. (เทคโนโลยีอาหาร)
ชื่อเต็ม (อังกฤษ) : Bachelor of Science (Food Technology)
ชื่อย่อ (อังกฤษ) : B.Sc. (Food Technology)

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

  1. นักวิทยาศาสตร์/เทคโนโลยีทางอาหารในโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งรับผิดชอบด้านการวางแผนการผลิต การควบคุมการผลิต การควบคุมและประกันคุณภาพ การสุขาภิบาลและความปลอดภัยของอาหาร การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร และการวิเคราะห์คุณภาพอาหาร
  2. นักวิทยาศาสตร์/เทคโนโลยีทางอาหารในองค์กรของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์คุณภาพอาหาร การกำหนดมาตรฐานอาหาร และการพัฒนาและผลิตผลิตภัณฑ์อาหาร
  3. อาจารย์และนักวิจัย
  4. ผู้ประกอบการธุรกิจอาหาร/อาชีพอิสระ

ลักษณะวิชาที่ศึกษา

  1. เป็นสาขาวิชาที่ต้องประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์หลายแขนง ดังต่อไปนี้
  2. จุลชีววิทยาอาหาร ศึกษาจุลินทรีย์ที่ทำให้อาหารเสื่อมเสีย จุลินทรีย์ทำให้อาหารเป็นพิษ การตรวจสอบและจำแนกจุลินทรีย์ที่มีอยู่ในอาหาร การใช้จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการแปรรูปและถนอมอาหาร และมาตรฐานทางจุลชีววิทยาของอาหารและผลิตภัณฑ์
  3. เคมีอาหาร ศึกษาคุณสมบัติและองค์ประกอบทางเคมีของอาหาร การเปลี่ยนแปลงทางเคมีและชีวเคมีของวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์อันเนื่องจากกระบวนการแปรรูป ศึกษาคุณสมบัติของสารเคมีที่ใช้ในอุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร การตรวจวิเคราะห์องค์ประกอบและสารอาหารตลอดจนสารพิษตกค้างในอาหาร
  4. การแปรรูปอาหาร ศึกษาหลักการถนอมอาหาร การเลือกและเตรียมวัตถุดิบ กระบวนการแปรรูปวัตถุดิบให้อยู่ในรูปที่ต้องการ เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการแปรรูปอาหาร ได้แก่ การใช้ความร้อน การทำให้เข้มข้น การทำแห้ง การแช่เยือกแข็ง การใช้พลังงานไมโครเวฟ การอาบรังสี การใช้แก๊ส และการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์อาหาร
  5. วิศวกรรมอาหาร ศึกษาเกี่ยวกับคุณสมบัติทางกายภาพของอาหาร ศึกษาสมดุลมวล สมดุลพลังงาน การไหลของของไหล กระบวนการแยก การถ่ายโอนความร้อนและการถ่ายโอนมวล ตลอดจนปฏิบัติการเฉพาะหน่วยของการผลิตในอุตสาหกรรมอาหาร
  6. การควบคุมและประกันคุณภาพ ศึกษาวิธีการตรวจวัดคุณภาพ และมาตรฐานที่ใช้ในการควบคุมคุณภาพในอุตสาหกรรมอาหาร การใช้สถิติในการควบคุมคุณภาพ การจัดระบบการประกันคุณภาพ และการวางแผนการประกันคุณภาพในอุตสาหกรรมอาหาร
  7. การจัดการโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร ศึกษาเกี่ยวกับการบริหารและการจัดองค์กรของอุตสาหกรรมอาหาร การวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตและผลกำไร การวางแผนการผลิต การควบคุมและการเพิ่มผลผลิต การจัดการสินค้าคงคลัง แรงงานสัมพันธ์ การจัดการเรื่องความปลอดภัย และการซ่อมบำรุงรักษาอุปกรณ์และเครื่องจักร กฎหมายเกี่ยวข้องกับโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร
  8. การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารและการตลาด ศึกษานวัตกรรมของผลิตภัณฑ์อาหาร การวางแผนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ การสร้างสูตรอาหาร การทดสอบตลาด การศึกษาสภาพแวดล้อมทางการตลาดและพฤติกรรมของผู้บริโภค การดำเนินกลยุทธทางการตลาด และการจัดโครงสร้างสายงานด้านการตลาด

คุณสมบัติของผู้ศึกษา

        นักศึกษาที่สมัครเข้าศึกษาต่อในสาขาวิชาเทคโนโลยีอาหาร ต้องมีพื้นฐานความรู้ทางวิทยาศาสตร์พื้นฐาน (คณิตศาสตร์ เคมี ชีววิทยา และฟิสิกส์) เป็นอย่างดี ควรมีผลการเรียนวิชาเหล่านี้สูงกว่าระดับคะแนนเฉลี่ยคือ C+ ขึ้นไป นอกจากนี้ผู้สมัครควรมีผลการเรียนในวิชาภาษาอังกฤษและคอมพิวเตอร์ในระดับดี

หลักสูตร

จำนวนหน่วยกิตรวม  ไม่น้อยกว่า 170 หน่วยกิต

โครงสร้างหลักสูตร

1) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป                              ไม่น้อยกว่า 38 หน่วยกิต

     – กลุ่มวิชาแกนศึกษาทั่วไป                                                    15 หน่วยกิต

     – กลุ่มวิชาภาษาต่างประเทศ                                                  15 หน่วยกิต

     – กลุ่มวิชาแกนศึกษาทั่วไปแบบเลือก                                      8 หน่วยกิต

2) หมวดวิชาเฉพาะ                                       ไม่น้อยกว่า 124 หน่วยกิต

             – กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ                                               55 หน่วยกิต

             – กลุ่มวิชาบังคับวิชาชีพ                                                 47 หน่วยกิต

             – กลุ่มการวิจัย                                                                   6 หน่วยกิต

             – กลุ่มวิชาเลือกวิชาชีพ                                                     7 หน่วยกิต

             – กลุ่มวิชาประสบการณ์ภาคปฏิบัติ                                    9 หน่วยกิต

3) หมวดวิชาเลือกเสรี                                   ไม่น้อยกว่า 8 หน่วยกิต

X