หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอาหาร (หลักสูตรนานาชาติ)
(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560)
ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย : ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอาหาร (หลักสูตรนานาชาติ)
ภาษาอังกฤษ : Doctor of Philosophy Program in Food Technology (International Program)
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อเต็ม (ไทย) : ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (เทคโนโลยีอาหาร)
ชื่อย่อ (ไทย) : ปร.ด. (เทคโนโลยีอาหาร)
ชื่อเต็ม (อังกฤษ) : Doctor of Philosophy (Food Technology)
ชื่อย่อ (อังกฤษ) : Ph.D. (Food Technology)
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
- นักวิชาการด้านเทคโนโลยีอาหาร ทั้งในส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และบริษัทเอกชนทั้งในและต่างประเทศ
- อาจารย์และนักวิจัยทั้งในและต่างประเทศ
- อาชีพอิสระที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจอาหาร
- กลุ่มอาชีพที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอาหาร
หลักสูตร
- แบบ 1 เป็นแผนการศึกษาที่เน้นการวิจัย โดยมีการทำวิทยานิพนธ์เพียงอย่างเดียว
แบบ 1.1 สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จการศึกษาขั้นปริญญาโท หน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 64 หน่วยกิต โดยต้องลงทะเบียนเรียนรายวิชา 335881 สัมมนาดุษฎีบัณฑิต 1 335882 สัมมนาดุษฎีบัณฑิต 2 335883 สัมมนาดุษฎีบัณฑิต 3 และ 335884 สัมมนาดุษฎีบัณฑิต 4 โดยไม่คิดหน่วยกิต - แบบ 2 เป็นแผนการศึกษาที่เน้นการทำวิทยานิพนธ์และการเรียนรายวิชา
แบบ 2.1 สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สาเร็จการศึกษาขั้นปริญญาโท เป็นแผนการศึกษาที่เน้นการทาวิทยานิพนธ์และการเรียนรายวิชา โดยมีการเรียนวิชาบังคับ จำนวน 4 หน่วยกิต วิชาเลือกจำนวนไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต (โดยเลือกในกลุ่มสาขาวิชาเทคโนโลยีอาหารอย่างน้อย 6 หน่วยกิต) และวิชาวิทยานิพนธ์จานวนไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต หน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 64 หน่วยกิต
แบบ 2.2 สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สาเร็จการศึกษาขั้นปริญญาตรี (เกียรตินิยม) เป็นแผนการศึกษาที่เน้นการทำวิทยานิพนธ์และการเรียนรายวิชา โดยมีการเรียนวิชาบังคับ จำนวน 4 หน่วยกิต วิชาเลือกจำนวนไม่น้อยกว่า 28 หน่วยกิต (โดยเลือกในกลุ่มสาขาวิชาเทคโนโลยีอาหารอย่างน้อย 14 หน่วยกิต) และวิชาวิทยานิพนธ์จานวนไม่น้อยกว่า 64 หน่วยกิต หน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 96 หน่วยกิต
คุณสมบัติของผู้ศึกษา
- หลักสูตรปริญญาเอก แบบ 1
ผู้สมัครซึ่งสาเร็จการศึกษาขั้นปริญญาโท จะต้องเป็นผู้สาเร็จการศึกษาขั้นปริญญาตรีหรือปริญญาโททางด้านวิทยาศาสตร์สาขาใดสาขาหนึ่ง โดยการสาเร็จขั้นปริญญาตรีหรือปริญญาโทนั้น ต้องมีปริญญาใดปริญญาหนึ่ง ซึ่งเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และจะต้องมีผลงานวิจัยตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการที่สาขาวิชายอมรับ - หลักสูตรปริญญา แบบ 2
แบบ 2.1
– ผู้สมัครซึ่งสาเร็จการศึกษาขั้นปริญญาโทจากหลักสูตรซึ่งทาวิทยานิพนธ์เพียงอย่างเดียวทางวิทยาศาสตร์ (วท.ม.) หรือวิศวกรรมศาสตร์ (วศ.ม.) หรือเทียบเท่าในสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จะต้องมีผลงานวิจัยตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการที่สาขาวิชายอมรับ
– ผู้สมัครซึ่งสาเร็จการศึกษาขั้นปริญญาโทจากหลักสูตรซึ่งมีการเรียนรายวิชาและทาวิทยานิพนธ์ จะต้องมีแต้มระดับคะแนนเฉลี่ยเฉพาะวิชาเอกไม่ต่ากว่า 3.25
แบบ 2.2
– ผู้สมัครซึ่งสาเร็จการศึกษาขั้นปริญญาตรี (เกียรตินิยม) หรือเทียบเท่า จะต้องเป็นผู้ที่มาจากหลักสูตรทางวิทยาศาสตร์ (วท.บ.) หรือวิศวกรรมศาสตร์ (วศ.บ.) หรือเทียบเท่าในสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โครงสร้างหลักสูตร
* โดยต้องลงทะเบียนเรียนรายวิชา 335881 สัมมนาดุษฎีบัณฑิต 1 335882 สัมมนาดุษฎีบัณฑิต 2 335883 สัมมนาดุษฎีบัณฑิต 3 และ 335884 สัมมนาดุษฎีบัณฑิต 4 โดยไม่คิดหน่วยกิต
(1) เลือกในกลุ่มสาขาวิชาเทคโนโลยีอาหารอย่างน้อย 6 หน่วยกิต
(2) เลือกในกลุ่มสาขาวิชาเทคโนโลยีอาหารอย่างน้อย 14 หน่วยกิต
(1) เลือกในกลุ่มสาขาวิชาเทคโนโลยีอาหารอย่างน้อย 6 หน่วยกิต
(2) เลือกในกลุ่มสาขาวิชาเทคโนโลยีอาหารอย่างน้อย 14 หน่วยกิต
รายวิชาในหลักสูตร
- ดาวน์โหลดเอกสารรายวิชาในหลักสูตร