หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางสัตว์

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางสัตว์

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางสัตว์
(หลักสูตรนานาชาติ) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565)

 

ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย : หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางสัตว์ (หลักสูตรนานาชาติ)
ภาษาอังกฤษ : Doctor of Philosophy Program in Animal Production Technology (International Program)

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ชื่อเต็ม (ไทย) : ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางสัตว์)
ชื่อย่อ (ไทย) : ปร.ด. (เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางสัตว์)
ชื่อเต็ม (อังกฤษ) : Doctor of Philosophy (Animal Technology and Innovation)
ชื่อย่อ (อังกฤษ) : Ph.D. (Animal Technology and Innovation)

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

  1. นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย ทางด้านการผลิตสัตว์ สามารถประกอบอาชีพที่เกี่ยวกับการคิดค้นเทคโนโลยี การนำเทคโนโลยีทางด้านการผลิตสัตว์ไปใช้ในอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ อุตสาหกรรมการผลิตอาหารสัตว์ อุตสาหกรรมการพัฒนาพันธุ์สัตว์ อุตสาหกรรมระบบการผลิตสัตว์ เป็นต้น
  2. นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย ทางด้านการผลิตสัตว์ ในองค์กรของรัฐ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาปรับปรุงการผลิตสัตว์ ระบบการผลิตสัตว์ การพัฒนาพันธุ์สัตว์ และการพัฒนาอาหารสัตว์ เป็นต้น
  3. อาจารย์ทางด้านการผลิตสัตว์ในสถาบันการศึกษาระดับต่างๆ จนถึงระดับอุดมศึกษา
  4. ธุรกิจส่วนตัว และอาชีพอิสระ

หลักสูตร

  1. สำหรับผู้ที่ศึกษาต่อจากขั้นปริญญาโท
    – หลักสูตร แบบ 1 (แบบ 1.1) เป็นการศึกษาที่เน้นการวิจัยโดยการทำวิทยานิพนธ์เพียงอย่างเดียว มีจำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 60 หน่วยกิต
    – หลักสูตร แบบ 2 (แบบ 2.1) เป็นการศึกษาที่เน้นการทำวิทยานิพนธ์และการเรียนรายวิชาที่คิดค่าคะแนน มีจำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 60 หน่วยกิต
  2. สำหรับผู้ที่ศึกษาต่อจากขั้นปริญญาตรี 
    – หลักสูตร แบบ 2 (แบบ 2.2) เป็นการศึกษาที่เน้นการทำวิทยานิพนธ์และการเรียนรายวิชาที่คิดค่าคะแนน มีจำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 90 หน่วยกิต

คุณสมบัติของผู้ศึกษา

1. เป็นไปตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2558 ข้อที่ 12.4 จะต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าที่มีผลการเรียนดีมาก หรืปริญญาโทหรือเทียบเท่า และมีผลการสอบภาษาอังกฤษได้ตามเกณฑ์ที่คณะกรรมการการอุดมศึกษากำหนด
2. เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีว่าด้วยการศึกษาขั้นบัณฑิตศึกษา (ภาคผนวก ก)
    2.1 เป็นผู้สำเร็จการศึกษาขั้นปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือมีหลักฐานรับรองว่าจะสำเร็จการศึกษาขั้นปริญญาโทหรือเทียบเท่า จากสถาบันอุดมศึกษาที่มหาวิทยาลัยรับรอง หรือ
    2.2 เป็นผู้สำเร็จการศึกษาขั้นปริญญาตรีเกียรตินิยมหรือเทียบเท่าจากมหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษาที่มหาวิทยาลัยรับรอง หรือมีหลักฐานรับรองว่าจะสำเร็จการศึกษาขั้นปริญญาตรีหรือเทียบเท่าจากสถาบันอุดมศึกษาที่มหาวิทยาลัยรับรองในสาขาวิชาเดียวกันกับสาขาวิชาของหลักสูตรปริญญาเอกที่จะเข้าศึกษา โดยมีแต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมนับถึงภาคการศึกษาก่อนสุดท้ายไม่ต่ำกว่าเกณฑ์เกียรตินิยมของสถาบันที่กำลังศึกษา
    2.3 ผู้สมัครเข้าศึกษาหลักสูตรปริญญาเอกที่เน้นเฉพาะการทำวิจัยต้อง
          1) เป็นผู้สำเร็จการศึกษาขั้นปริญญาโทที่มีการทำวิทยานิพนธ์ และ
          2) มีประสบการณ์วิจัยในสายงานโดยมีผลงานวิจัยตีพิมพ์เผยแพร่ ในวารสารวิชาการที่สาขาวิชายอมรับ หรอื มีประสบการณ์ในการทำงานในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องไม่น้อยกว่า 2 ปี
    2.4 ผู้สมัครเข้าศึกษาทุกหลักสูตรข้างต้น ต้องไม่เป็นผู้พ้นสถานภาพนักศึกษา ขั้นบัณฑิตศึกษา เนื่องจากผลการสอบ หรือผลการเรียนไม่ถึงเกณฑ์ หรือกระทำผิดวินัยนักศึกษา หรือยังไม่สำเร็จการศึกษาเมื่อครบกำหนดเวลาสูงสุดแล้วในหลักสูตรและระดับการศึกษาที่จะเข้าศึกษา
    2.5 มีคุณสมบัติอื่นตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด
    2.6 สภาวิชาการโดยคำแนะนำของคณะกรรมการประจำสำนักวิชาอาจพิจารณายกเว้นคุณสมบัติตามที่กำหนดข้างต้นได้เป็นกรณีไป

โครงสร้างหลักสูตร

หมวดวิชาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
แผนการศึกษาแบบ 1.1แบบ 2.1แบบ 2.2
วิชาแกน 6363124124
วิชาเลือก1 ไม่น้อยกว่า 8ไม่น้อยกว่า 18ไม่น้อยกว่า 10
วิทยานิพนธ์2ไม่น้อยกว่า 60ไม่น้อยกว่า 46ไม่น้อยกว่า 46ไม่น้อยกว่า 60ไม่น้อยกว่า 60
สหกิจบัณฑิตศึกษา  8  
รวมไม่น้อยกว่า 60ไม่น้อยกว่า 60ไม่น้อยกว่า 60ไม่น้อยกว่า 90ไม่น้อยกว่า 90
1 การเรียนรายวิชา นักศึกษาสามารถลงทะเบียนเรียนวิชาของสาขาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางสัตว์ หรือสาขาอื่นได้ โดยอยู่ในความเห็นชอบของสาขาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางสัตว์ 2 การทำการวิจัยเพื่อทำวิทยานิพนธ์นั้น อาจกระทำทั้งหมดที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี หรือที่มหาวิทยาลัยหรือสถาบันวิจัยอื่น ๆ ทั้งภายในและต่างประเทศซึ่งมีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี หรือเครือข่ายวิชาการที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีเป็นสมาชิก 3 เป็นวิชาในกลุ่มสัมมนา 6 หน่วยกิต ถ้าไม่เคยเรียนวิชาที่เทียบเท่ากับ IAT33 8101 การวางแผนการทดลองในงานวิจัยทางสัตวศาสตร์  มาก่อน ต้องลงทะเบียนเรียนวิชาทั้งสองนี้ เพิ่มอีก 4 หน่วยกิต รวมเป็นหน่วยกิตในหมวดวิชาแกน 10 หน่วยกิต และมีหน่วยกิตรวมทุกหมวดไม่น้อยกว่า 60 หน่วยกิต 4 เป็นวิชา IAT33 8101 การวางแผนการทดลองทางสัตวศาสตร์ และกลุ่มวิชาสัมมนา 8 หน่วยกิต
X